เสาสะดือเมืองเชียงราย
ณ
วันพุธที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
เสาสะดือเมืองเชียงราย
(เสาหลักเมือง) (Chiang
Rai City Navel Pillar)
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : วัดพระธาตุดอยจอมทอง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
เสาสะดือเมืองเชียงราย (เสาหลักเมือง)
เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของการก่อตั้งชุมชนและเมือง
สำหรับจังหวัดเชียงรายจะเรียกเสาหลักเมืองว่า “เสาสะดือเมือง”
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า
เมื่อครั้งการสร้างเมืองครั้งแรกใช้คำว่า "เสาสะดือเมือง" ไม่ใช้คำว่า “เสาหลักเมือง”
เสาสะดือเมืองเชียงรายแห่งนี้ สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๕๓๐
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา หรือ ๕ รอบ
และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังรายมหาราช ผู้ทรงสร้างเมืองเชียงราย
เนื่องในวโรกาสการเฉลิมฉลองการสร้างเมืองเชียงรายครบ ๗๒๕ ปี โดยนายอร่าม
เอี่ยมอรุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นได้เป็นแม่งานร่วมกับหน่วยงานราชการ เช่น
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์กรภาคประชาชน ภาคเอกชน และรัฐบาลเยอรมัน
ลักษณะของเสาสะดือเมืองเชียงราย
สร้างขึ้นโดยยึดตามรูปแบบเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อ ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอเทิง
อำเภอเชียงของ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ซึ่งปกติเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อจะสร้างด้วยไม้
แต่เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน ซึ่งสร้างจากหินชั้นดีจากจังหวัดตาก
ทั้งนี้เพื่อความคงทนถาวร โดยบริเวณที่ตั้งเสาสะดือเมืองแห่งนี้เรียกว่า “ดอยจอมทอง” ซึ่งตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า “พญามังรายได้เสด็จมาหาตามช้างของพระองค์ซึ่งหนีเตลิดมา
เมื่อพระองค์ได้ทรงพบว่า
สถานที่แห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสมในการสร้างบ้านเมือง
จึงโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายขึ้น”
เสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างในรูปแบบศิลปะขอม แบบพนมบาแกง โดยยึดตามรูปแบบสมมติของจักรวาล
หันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกสุดเป็นคูน้ำเหมือนในจักรวาล ลานดินถัดจากคูน้ำหมายถึงแผ่นดิน ลานด้านในยกเป็นชั้น ๆ จำนวน ๖ ชั้น
เปรียบเสมือนสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ในกามภูมิ ประกอบด้วยชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์
ยามะ ดุสิต นิมมานรตี และปรนิมมิตสวัตตี ตามลำดับ โดยแต่ละชั้นจะมีร่องน้ำคั่นกลาง
เหมือนปัญจมหานที ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ ไหลลดหลั่นกันลงสู่พื้นดิน ชั้นในสุดยกเป็น ๓ ชั้น หมายถึงรูปภูมิ
อรูปภูมิ และนิพพาน ตัวเสาสะดือเมือง
ตั้งโดดเด่นดั่งเขาพระสุเมรุอยู่บนฐานสามเหลี่ยมยกพื้นสูง
ซึ่งเปรียบเสมือนตรีกูฏบรรพต หรือผา ๓ เส้า มีเสาบริวารล้อมรอบจำนวน ๑๐๘ ต้น
โดยตัวเสาสะดือเมืองมีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณที่จะต้องสร้างเสาสะดือเมืองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์ และมีความสูงเท่ากับส่วนสูงของพระวรกายของพระมหากษัตริย์
โดยตัวเสาสะดือเมืองมีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณที่จะต้องสร้างเสาสะดือเมืองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์ และมีความสูงเท่ากับส่วนสูงของพระวรกายของพระมหากษัตริย์
เสาสะดือเมืองเชียงรายและเสาบริวารแกะสลักจากหิน โดยฝีมือของนายสิงห์คำ
สมเครือ ช่างฝีมือชาวพะเยา ปัจจุบันเสาสะดือเมืองเชียงราย
นอกจากเป็นสถานที่รำลึกถึงการสร้างเมืองเชียงรายแล้ว
ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย
บริเวณข้างเสาสะดือเมืองเชียงราย เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุดอยจอมทอง
และเชิงบันไดทางขึ้นไปสู่เสาสะดือเมืองด้านขวามือ
มีสิ่งก่อสร้างขนาดย่อมตั้งอยู่ เรียกว่า “กรุวัฒนธรรมเชียงราย”
ซึ่งก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๔ เพื่อเก็บร่องรอยและหลักฐานทางวัฒนธรรมร่วมสมัยปัจจุบัน
ซึ่งกรุวัฒนธรรมเชียงรายนี้จะทำการขุดขึ้นมาอีกครั้งเมื่อมีอายุครบ ๑๐๐ ปี
หรือในวันที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๖๔๔
กรุวัฒนธรรมเชียงรายนี้จะทำการขุดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีอายุครบ ๑๐๐ ปี หรือในวันที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๖๔๔ |
ป้ายบอกทางไปเสาสะดือเมืองเชียงราย ที่อยู่ในตัวเมืองจังหวัดเชียงราย |
บันไดทางขึ้นทิศตะวันออกไปกราบสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย |
จุดธูปเทียนกราบสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย |
เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน สร้างจากหินชั้นดีจากจังหวัดตาก เพื่อความแข็งแรงคงทนถาวร |
เสาสะดือเมืองเชียงรายสร้างในรูปแบบศิลปะขอม แบบพนมบาแกง |
เสาสะดือเมืองเชียงราย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น