ณ วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี (Uthai Thani City Pillar Shrine)
ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี
ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน หลังคาเป็นยอดปรางค์ เสาหลักเมืองทำจากไม้มงคล
สำหรับเสาหลักเมืองอุทัยธานี ตามตำนานกล่าวไว้ว่า สมัยก่อนไม่มีใครสนใจเรื่องเสาหลักเมือง จนกระทั่งมีคนกรุงเทพฯ เดินทางมาที่วัดหัวเมือง อำเภอหนองฉาง แล้วเล่าว่ามีคนไปเข้าฝันว่าเสาหลักเมืองอุทัยธานีเก่าอยู่ตรงไหน ให้จัดการตั้งเสาให้เรียบร้อย แล้วคนกรุงเทพฯ ก็เดินไปชี้จุดที่อยู่ของเสาที่รู้จากความฝัน อยู่บริเวณข้างวัดหัวเมืองทางทิศตะวันออก พบว่าเป็นเสาไม้แก่นไม้แต้ ซึ่งเดิมไม่มีผู้ใดสนใจ และนำไม้แก่นไปทำฟืนเหลืออยู่เพียงซีกเดียว จึงได้ทำพิธีย้ายเสาหลักเมืองมาไว้ข้างวัดหัวเมือง แล้วสร้างศาลาคลุมเสาหลักเมืองเอาไว้
สำหรับเสาหลักเมืองอุทัยธานี ตามตำนานกล่าวไว้ว่า สมัยก่อนไม่มีใครสนใจเรื่องเสาหลักเมือง จนกระทั่งมีคนกรุงเทพฯ เดินทางมาที่วัดหัวเมือง อำเภอหนองฉาง แล้วเล่าว่ามีคนไปเข้าฝันว่าเสาหลักเมืองอุทัยธานีเก่าอยู่ตรงไหน ให้จัดการตั้งเสาให้เรียบร้อย แล้วคนกรุงเทพฯ ก็เดินไปชี้จุดที่อยู่ของเสาที่รู้จากความฝัน อยู่บริเวณข้างวัดหัวเมืองทางทิศตะวันออก พบว่าเป็นเสาไม้แก่นไม้แต้ ซึ่งเดิมไม่มีผู้ใดสนใจ และนำไม้แก่นไปทำฟืนเหลืออยู่เพียงซีกเดียว จึงได้ทำพิธีย้ายเสาหลักเมืองมาไว้ข้างวัดหัวเมือง แล้วสร้างศาลาคลุมเสาหลักเมืองเอาไว้
ส่วนในตัวเมืองอุทัยธานีนั้น แต่เดิมไม่มีศาลหลักเมือง
ต่อมาจึงได้มีการสร้างศาลหลักเมืองขึ้นที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุทัยธานีในปัจจุบัน โดยศาลหลักเมืองนี้ได้สร้างในสมัย
นายสุดจิต นิมิตกุล
เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีในสมัยนั้น เหตุที่สร้างเสาหลักเมืองแห่งนี้ เนื่องจากแต่เดิมเมืองอุทัยธานี มีเสาหลักเมืองเก่าอยู่ที่ ตำบลอุทัยเก่า อำเภอหนองฉาง ในปัจจุบัน
ผู้คนที่มาสักการะศาลหลักเมืองที่นี่นอกจากจะได้รับความเป็นสิริมงคลแล้ว
ก็ยังได้ชมความงดงามของแม่น้ำสะแกกรังที่อยู่ด้านหลังศาลหลักเมืองอีกด้วย
บริเวณด้านหน้าศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี |
ภายในศาลหลักเมือง เป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี ที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม |
เสาหลักเมืองจำลองบริเวณศาลาด้านนอกศาลหลักเมือง องค์ศรีอุทัยเทวา ที่ปกปักษ์รักษาคุ้มครอง |
องค์พระสยามเทวาธิราช บริเวณศาลาข้างศาลหลักเมือง |
องค์พระพุทธรูปจำลอง บริเวณศาลาข้างศาลหลักเมือง |
องค์จำลองหลวงปู่ทวดบริเวณศาลาข้างศาลหลักเมือง |
บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี |
บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี |
บริเวณภายนอกศาลหลักเมือง และศาลาเสาหลักเมืองจำลองจังหวัดอุทัยธานี |
ตุ๊กตาปูนปั้นช้างม้าที่มีบุคคลนำมาถวาย บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี |
บริเวณภายนอกด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง |
บริเวณภายนอกด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง |
บริเวณภายนอกด้านข้างศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง และจัดสวนพร้อมเครื่องออกกำลังกาย |
ปัจจุบันศาลหลักเมืองอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี |
เมืองอุทัยธานีมีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรยืนยันไว้ว่า
เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปี
มาแล้ว โดยพบหลักฐานยืนยันในหลายพื้นที่ เช่น โครงกระดูก
เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวด ภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนหน้าผา (เขาปลาร้า)
เป็นต้น
ตำนานเก่าเล่าว่า
ในสมัยกรุงสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองนั้น
ท้าวมหาพรหมได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า คือ อำเภอหนองฉางในปัจจุบันนี้
แล้วพาคนไทยเข้ามาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านคนมอญและคนกะเหรี่ยง จึงเรียกว่า
"เมืองอู่ไทย" ตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทยซึ่งพากันตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น
มีพืชพันธุ์และอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าแห่งอื่น
ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินและเกิดกันดารน้ำ เมืองอู่ไทยจึงถูกทิ้งร้าง
จนในที่สุด พะตะเบิดได้เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทย โดยขุดที่เก็บกักน้ำไว้ใกล้เมือง
และพะตะเบิดได้เป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยเป็นคนแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา
เมืองอู่ไทยต่อมาได้เรียกกันเป็น
"เมืองอุไทย" คาดว่าเพี้ยนไปตามสำเนียงชาวพื้นเมืองเดิม
ได้มีฐานะเป็นหัวเมืองด่านชั้นนอก มีพระพลสงครามเป็นนายด่านแม่กลอง
และพระอินทรเดชเป็นนายด่านหนองหลวง (ปัจจุบันแม่กลองคืออำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
และหนองหลวงคือตำบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง)
คอยดูแลพม่าที่จะยกทัพมาตามเส้นทางชายแดนด่านแม่ละเมา
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
(พุทธศักราช ๒๑๔๘-๒๑๖๓)
ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติอำนาจการใช้ตราประจำตำแหน่งมีบัญชาการตามหัวเมืองนั้น ได้ระบุในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญว่า
"เมืองอุไทยธานี เป็นหัวเมืองขึ้นแก่มหาดไทย"
เมืองอุไทยธานีเป็นเมืองที่อยู่บนที่ดอนและลึกเข้าไป
ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่และไม่สามารถติดต่อทางเรือได้
ดังนั้นชาวเมืองจึงต้องขนข้าวบรรทุกเกวียนมาลงที่แม่น้ำ
จึงทำให้พ่อค้าพากันไปตั้งยุ้งฉางรับซื้อข้าวที่ริมแม่น้ำจนเป็นหมู่บ้านใหญ่
เรียกว่าหมู่บ้าน "สะแกกรัง"
เนื่องจากเป็นพื้นที่มีป่าสะแกขึ้นเต็มริมน้ำและมีต้นสะแกใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน
บ้านสะแกกรัง ชาวจีนเรียกเพี้ยนเป็น "ซิเกี๋ยกั้ง"
เป็นตลาดซื้อข้าวที่มีพ่อค้าคนจีนนิยมไปตั้งบ้านเรือนและยุ้งฉาง
ต่อมาในระยะหลังได้มีเจ้านายและขุนนางมาตั้งบ้านเรือนอยู่
เพราะความสะดวกในการกะเกณฑ์สิ่งของส่งเมืองหลวงซึ่งเป็นจำพวกมูลค้างคาว ไม้ซุง
กระวาน และช้างป่า อีกทั้งยังมีช่องทางในการค้าข้าวอีกด้วย
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ
พระยาราชนกุล (ทองคำ) ปลัดทูลฉลองมหาดไทยได้ย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรัง
มีบุตรชายคนโตชื่อ "ทองดี" เกิดที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี
เมื่อเติบโตได้ติดตามบิดาและเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยา
ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระพินิจอักษร (ทองคำ) และพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ตำแหน่งเสมียนตรากรมมหาดไทยตามลำดับ ต่อมาพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ได้แต่งงานกับสตรีงามชื่อ "หยก" มีบุตรธิดา ๕ คน บุตรชายคนที่ ๔ ชื่อ "ทองด้วง" ภายหลังได้สถาปนาเป็น
"พระเจ้าแผ่นดิน" หรือ พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑)
และบุตรชายคนที่ ๕ ขื่อ "บุญมา"
ต่อมาได้เป็น "สมเด็จกรมพระยาบวรมหาสุรสิงหนาท"
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ได้ทรงสถาปนาราชวงค์จักรีและสถาปนาพระอัฐิของพระอักษรสุนทรศาสตร์
(ทองดี) ผู้เป็นพระบิดาขึ้นเป็น "พระปฐมบรมมหาชนก"
และถวายพระเพลิงในปีพุทธศักราช ๒๓๓๘
นับได้ว่าบ้านสะแกกรัง
อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นปิตุภูมิของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระราชบิดาของ พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งราชวงศ์จักรี
จังหวัดอุทัยธานี จึงได้สร้างพระบรมรูปพระปฐมบรมมหาชนกเป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าองค์จริง ประทับในพลับพลาจตุรมุข ซึ่งออกแบบโดยกรมศิลปากร ประดิษฐานไว้อยู่บนยอดเขาสะแกกรัง หน้าบรรณศาลาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ตราจักรีประดับโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระวิสูตรพระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ด้วยความจงรักภักดีต่อราชวงค์จักรีเป็นที่สุด และทุก ๆ ปี จะมีพิธีถวายราชสักการะ "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก" เพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงค์จักรี ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเปี่ยมล้น สร้างคุณประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติและจังหวัดอุทัยธานี
จังหวัดอุทัยธานี จึงได้สร้างพระบรมรูปพระปฐมบรมมหาชนกเป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าองค์จริง ประทับในพลับพลาจตุรมุข ซึ่งออกแบบโดยกรมศิลปากร ประดิษฐานไว้อยู่บนยอดเขาสะแกกรัง หน้าบรรณศาลาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ตราจักรีประดับโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระวิสูตรพระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ด้วยความจงรักภักดีต่อราชวงค์จักรีเป็นที่สุด และทุก ๆ ปี จะมีพิธีถวายราชสักการะ "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก" เพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงค์จักรี ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเปี่ยมล้น สร้างคุณประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติและจังหวัดอุทัยธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น