ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสระบุรี
(บ้านหมอ)
ณ
วันศุกร์ที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสระบุรี
(บ้านหมอ) Saraburi (Banmoa) City
Pillar Shrine
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่
: ฝั่งตรงข้ามกับทะเลสาบบ้านหมอ หมู่ ๑๑ ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสระบุรี
(บ้านหมอ) ได้ชื่อว่า "ศาลหลักเมืองโบราณ" ลักษณะเป็นศาลาเปิดโล่ง
หลังคาไม้ทรงไทย หลังคาปูด้วยกระเบื้องดินเผาเกล็ดปลาบางส่วนผุผังไปตามกาลเวลา
พื้นศาลก่ออิฐถือปูนยกสูงทรงสี่เหลี่ยมเฉพาะใต้ฐานองค์เจ้าพ่อหลักเมือง
องค์เจ้าพ่อหลักเมือง
เป็นเทวรูปนั่ง ทำด้วยหินทราย สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะขอมในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ มีเทวรูปหนุมานและสุครีพอยู่ร่วมภายในศาล
บ้านคูเมือง
(เมืองขีดขิน หรือ เมืองปรันตปะ) ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ
จังหวัดสระบุรี ลักษณะเป็นเมืองโบราณ
มีคูน้ำคันดินล้อมตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน และยังคงปรากฎหลักฐานครบทั้งสี่ด้าน
กว้างประมาณ ๓๖๐ เมตร ยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร พื้นที่โดยประมาณ ๐.๒๗ ตารางกิโลเมตร
หรือประมาณ ๗๐-๘๐ ไร่ ความเจริญของบ้านคูเมืองจัดอยู่ในสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่
๑๗-๑๘)
จากการสำราจทางโบราณคดี
พบแผ่นอิฐแบบทราวดี หินบด ขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งสีเทาและสีดำ
รอยประทับรูปเรือนแก้ว โบราณวัตถุที่พบเหล่านี้ สันนิษฐานว่า
บ้านคูเมืองหรือเมืองขีดขิน มีอายุตั้งแต่สมัยทราวดี ลพบุรี
และสืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตามลำดับ
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสระบุรี (บ้านหมอ) ได้ชื่อว่า "ศาลหลักเมืองโบราณ" |
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสระบุรี (บ้านหมอ) |
เจ้าพ่อหลักเมืองสระบุรี (บ้านหมอ) |
ศาลาทรงไทยโบราณของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสระบุรี (บ้านหมอ) |
ป้ายทางเข้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสระบุรี (บ้านหมอ) หากไม่สังเกตจริง ๆ แทบจะมองไม่เห็นเลย |
บ้านคูเมือง
มีอีกชื่อว่า "เมืองขีดขิน" และตำนานพระพุทธบาทเรียกเมืองนี้ว่า
"ปรันตปะราชธานี" พงศวดารเหนือ ฉบับพระวิเชียรปรีชา (น้อย)
กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "สมเด็จพระเจ้าไกรสรราช จึงสั่งให้
เสนาในให้สร้างเมืองใกล้เมืองละโว้ ทาง ๑๐๐ เส้น จัดแต่งพระราชวังและคูหอรบ
เสาใต้เชิงเรียงบริูบูรณ์แล้ว
จึงให้อำมาตย์รับเอาพระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราชกับราชเทวี ไปราชาภิเษกร่วมกัน
เมืองนี้นจึงชื่อว่า "เสนาราชนคร" แต่นั้นมา
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน บ้านคูเมือง (เมืองขีดขิน หรือ เมืองปรันตปะ) เป็นโบราณสถานของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๕ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘
ตำนาน
"เมืองขีดขิน"
เมืองขีดขิน
เป็นเมืองเสนาราชนคร หรือ เมืองปรันตปะ เป็นโบราณสถานที่สำคัญของอำเภอบ้านหมอ
ลักษณะเป็นคันดินและคูน้ำล้อมรอบ ตรงกลางเป็นโคกสูงเรียกว่า "โคกปราสาท"
เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยทวาราวดี เคยมีคนขุดค้นพบวัตถุโบราณหลายชิ้น เช่น
ศิลารูปพระโพธิสัตว์กับรูปทวารบาลหรือเทวบาล (ปัจจุบันอยู่ที่วัดพระพุทธบาท)
อันเป็นศิลปะขอมสมัยเดียวกับพระปรางค์สามยอดลพบุรี
ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองและเป็นเมืองท่าสำคัญมาหลายสมัยตั้งแต่สมัยขอม ละโว้ สุโขทัย
และอยุธยา
ตำนานเกี่ยวเนื่องกับวรรณกรรม
เรื่อง รามเกียรต์ โดยเล่าขานกันมาว่า เมื่อครั้งพระรามมาปราบพนาสูร
และได้ประทานที่ดินให้แก่หนุมานและสุครีพ หนุมานจึงได้ครองกรุงละโว้ (ปัจจุบัน คือ
จังหวัดลพบุรี) และสุครีพได้ครองเมืองเสนาราชนคร หรือ เมืองขีดขิน (ปัจจุบัน คือ
จังหวัดสระบุรี)
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสระบุรี (บ้านหมอ) ตั้งอยู่ที่ : ฝั่งตรงข้ามกับทะเลสาบบ้านหมอ |
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสระบุรี (บ้านหมอ) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : ฝั่งตรงข้ามกับทะเลสาบบ้านหมอ หมู่ ๑๑ ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น