ศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ณ วันพุธที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว
จังหวัดปทุมธานี Pathumthani (Lat Lum Kaeo) City Pillar Shrine
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่
: บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว
ริมถนนปทุมธานี-บางเลน หมู่ที่ 1 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นศาลหลักเมืองมุมเมืองด้านทิศตะวันตก เป็นสถาปัตยกรรมไทย มณฑปจัตุรมุขทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลักษณะคล้ายก้านดอกบัวหลวง เหนือขึ้นไปเป็นฐานกลีบบัวรองรับมณฑป ก่ออิฐฉาบปูนขาว หลังคาเป็นยอดปรางค์ ส่วนของยอดปรางค์ประดับฝักเพกา (ลำภุขัน) มีลักษณะคล้ายวชิราวุธอันเป็นอาวุธ ของพระอินทร์นำมาซ้อนกัน ๓ ชั้น มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน หน้าบันประดับด้วยปูนปั้นรูปท้องนาและดอกบัวหลวง
ภายในมณฑปประดิษฐานเสาหลักเมือง
ซึ่งมีลักษณะเป็นเสากลม ทำจากไม้ชัยพฤกษ์ ฐานแกะสลักเป็นดอกบัวรองรับ
หัวเสาแกะเป็นลูกบัวแก้ว
ป้ายบริเวณหน้าทางเข้าศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว (ปทุมธานี) |
ศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้วทางเข้าด้านหน้าตกแต่งสวนอย่างสวยงาม |
บริเวณด้านหลังศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว |
ภายในศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมือง |
ป้ายคำกล่าวบูชาสักการะองค์พระหลักเมืองลาดหลุมแก้ว |
ป้ายวางศิลาฤกษ์ศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว (ปทุมธานี) |
เพดานภายในศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว ตกแต่งทาสีอย่างสวยงาม |
เติมน้ำมันตะเกียงศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว |
ทางศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว (ปทุมธานี) เตรียมธูป เทียน แผ่นทองคำเปลว เพื่อความสะดวกสำหรับผู้มาสักการะ |
ความเป็นมาของศาลหลักเมืองปทุมธานี : สืบเนื่องจากการสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี
โดยนายสุธี โอบอ้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี (ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑) ดำริเห็นเป็นสำคัญว่า
ควรจะสร้างศาลหลักเมืองไว้ให้มั่นคง
เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวปทุมธานี พร้อมทั้งให้เกิดความรักสามัคคีกันให้มากยิ่งขึ้น
ทั้งยังนำความสงบสุข ร่มเย็น
มาสู่เมืองด้วยความดำรินี้จึงเห็นพ้องต้องกันระหว่างข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้า
และประชาชน ได้ร่วมกันสละทรัพย์คนละเล็กละน้อย ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองขึ้น
ในการนี้ทางกรมศิลปากรได้เป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาศาลหลักเมือง
ซึ่งทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ที่ทางกรมป่าไม้ได้นำมาจากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
มอบให้ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองปทุมธานี เริ่มทำพิธีสะเดาะพื้นที่ที่จะสร้างศาลหลักเมือง
เพื่อความสวัสดีมงคลเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙ วางศิลาฤกษ์หลักเมืองปทุมธานี วันจันทร์ที่ ๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับเวลา ๑๕.๐๐ น. เดือนยี่ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง
กรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ได้นำเข้าพระตำหนักสวนจิตรลดา เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชการที่ ๙)
ทรงเจิมเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เวลาฤกษ์ ๐๘.๒๙ น. และในคืนนี้เวลาประมาณ ๕ ทุ่ม (๒๓.๐๐ น.) ได้เกิดจันทรคลาสจับครึ่งดวงเป็นที่อัศจรรย์
พิธียกเสาหลักเมืองปทุมธานี วันพุธที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ศาลหลักเมืองปทุมธานีจึงตั้งเด่นเป็นสง่า
อยู่หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี
ไม้ชัยพฤกษ์จากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นไม้มงคลอย่างยิ่ง
ได้รับการคัดเลือกสายพันธุ์อย่างดี ลำต้นใหญ่
เมื่อกรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองปทุมธานีแล้ว
ยังมีส่วนเหลือของลำต้นที่สวยงามของไม้ชัยพฤกษ์
คณะกรรมการดำเนินงานจึงดำริจัดสร้างเสาหลักเมืองอีกสี่มุมเมือง
เสาหลักเมืองทุกมุมทิศของจังหวัดปทุมธานี
ในการนี้จึงได้กำหนดให้
อำเภอหนองเสือ เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศเหนือ
อำเภอลาดหลุมแก้ว เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศตะวันตก
อำเภอธัญบุรี เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศตะวันออก
อำเภอลำลูกกา เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศใต้
เทวดาผู้ปกป้องรักษาศาลหลักเมืองทุกมุมทิศของจังหวัดปทุมธานี
ศาลหลักเมืองหลัก-อ.เมือง “ท่านศรีวิมุติ”
ทิศเหนือ-อ.หนองเสือ “ท่านศรีสุวรรณ”
ทิศตะวันตก-อ.ลาดหลุมแก้ว “ท่านศรีรังสรรค์”
ทิศตะวันออก-อ.ธัญบุรี (รังสิต) “ท่านศรีรามภพ”
ทิศใต้-อ.ลำลูกกา “ท่านศรีพยัพ”
ความเป็นมาของศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว
ศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว ได้ดวงฤกษ์สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อันเป็นศุภดิถีมงคลวาร ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๒ ปีจอ ฉศก
จุลศักราช ๑๓๕๖ ตรงกับวันที่ ๘ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๘
เวลา ๑๐.๔๙
น. เป็นปฐมฤกษ์
เวลา
๑๑.๒๙ น. ที่สุดแห่งฤกษ์
ลักคณาสถิตราศีมีน เกาะทุติยตรียางค์ ๒ จตุตถนวางค์ ๔
จันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๗ สมโณฤกษ์
ประกอบไปด้วย ราชาแห่งฤกษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น