สารบัญศาลหลักเมือง

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)

เสาสะดือเมืองเชียงราย

ณ วันพุธที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙


เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
เสาสะดือเมืองเชียงราย (เสาหลักเมือง) (Chiang Rai City Navel Pillar)
            ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : วัดพระธาตุดอยจอมทอง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

            เสาสะดือเมืองเชียงราย (เสาหลักเมือง) เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของการก่อตั้งชุมชนและเมือง สำหรับจังหวัดเชียงรายจะเรียกเสาหลักเมืองว่า เสาสะดือเมือง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า เมื่อครั้งการสร้างเมืองครั้งแรกใช้คำว่า "เสาสะดือเมือง" ไม่ใช้คำว่า เสาหลักเมือง

           เสาสะดือเมืองเชียงรายแห่งนี้ สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๕๓๐ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา หรือ  ๕ รอบ และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังรายมหาราช ผู้ทรงสร้างเมืองเชียงราย เนื่องในวโรกาสการเฉลิมฉลองการสร้างเมืองเชียงรายครบ ๗๒๕ ปี โดยนายอร่าม เอี่ยมอรุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นได้เป็นแม่งานร่วมกับหน่วยงานราชการ เช่น สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์กรภาคประชาชน ภาคเอกชน และรัฐบาลเยอรมัน

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)

           ลักษณะของเสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างขึ้นโดยยึดตามรูปแบบเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อ  ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย  ซึ่งปกติเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อจะสร้างด้วยไม้ แต่เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน ซึ่งสร้างจากหินชั้นดีจากจังหวัดตาก ทั้งนี้เพื่อความคงทนถาวร โดยบริเวณที่ตั้งเสาสะดือเมืองแห่งนี้เรียกว่า ดอยจอมทองซึ่งตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า พญามังรายได้เสด็จมาหาตามช้างของพระองค์ซึ่งหนีเตลิดมา เมื่อพระองค์ได้ทรงพบว่า  สถานที่แห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสมในการสร้างบ้านเมือง จึงโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายขึ้น

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)

            เสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างในรูปแบบศิลปะขอม  แบบพนมบาแกง โดยยึดตามรูปแบบสมมติของจักรวาล หันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกสุดเป็นคูน้ำเหมือนในจักรวาล  ลานดินถัดจากคูน้ำหมายถึงแผ่นดิน  ลานด้านในยกเป็นชั้น ๆ จำนวน  ๖  ชั้น เปรียบเสมือนสวรรค์ทั้ง  ๖  ชั้น ในกามภูมิ ประกอบด้วยชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมมานรตี และปรนิมมิตสวัตตี ตามลำดับ โดยแต่ละชั้นจะมีร่องน้ำคั่นกลาง เหมือนปัญจมหานที ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ ไหลลดหลั่นกันลงสู่พื้นดิน  ชั้นในสุดยกเป็น ๓ ชั้น หมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และนิพพาน ตัวเสาสะดือเมือง ตั้งโดดเด่นดั่งเขาพระสุเมรุอยู่บนฐานสามเหลี่ยมยกพื้นสูง ซึ่งเปรียบเสมือนตรีกูฏบรรพต หรือผา ๓ เส้า มีเสาบริวารล้อมรอบจำนวน ๑๐๘ ต้น 
              โดยตัวเสาสะดือเมืองมีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณที่จะต้องสร้างเสาสะดือเมืองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์ และมีความสูงเท่ากับส่วนสูงของพระวรกายของพระมหากษัตริย์

               เสาสะดือเมืองเชียงรายและเสาบริวารแกะสลักจากหิน โดยฝีมือของนายสิงห์คำ สมเครือ ช่างฝีมือชาวพะเยา ปัจจุบันเสาสะดือเมืองเชียงราย นอกจากเป็นสถานที่รำลึกถึงการสร้างเมืองเชียงรายแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย


                 บริเวณข้างเสาสะดือเมืองเชียงราย เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุดอยจอมทอง
และเชิงบันไดทางขึ้นไปสู่เสาสะดือเมืองด้านขวามือ มีสิ่งก่อสร้างขนาดย่อมตั้งอยู่ เรียกว่า กรุวัฒนธรรมเชียงรายซึ่งก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๔  เพื่อเก็บร่องรอยและหลักฐานทางวัฒนธรรมร่วมสมัยปัจจุบัน ซึ่งกรุวัฒนธรรมเชียงรายนี้จะทำการขุดขึ้นมาอีกครั้งเมื่อมีอายุครบ ๑๐๐ ปี หรือในวันที่ ๑๙  มกราคม พุทธศักราช ๒๖๔๔
กรุวัฒนธรรมเชียงราย
กรุวัฒนธรรมเชียงรายนี้จะทำการขุดขึ้นมาอีกครั้ง
เมื่อมีอายุครบ ๑๐๐ ปี
หรือในวันที่ ๑๙
  มกราคม พุทธศักราช ๒๖๔๔
 
ป้ายบอกทางไปเสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
ป้ายบอกทางไปเสาสะดือเมืองเชียงราย
ที่อยู่ในตัวเมืองจังหวัดเชียงราย

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
บันไดทางขึ้นทิศเหนือไปกราบสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย


เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
บันไดทางขึ้นทิศตะวันออกไปกราบสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย
จุดที่ตั้งสำหรับจุดธูปเทียนสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย
จุดธูปเทียนกราบสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย

เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน
เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน
สร้างจากหินชั้นดีจากจังหวัดตาก เพื่อความแข็งแรงคงทนถาวร 

เสาสะดือเมืองเชียงราย
เสาสะดือเมืองเชียงรายสร้างในรูปแบบศิลปะขอม  แบบพนมบาแกง

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
เสาสะดือเมืองเชียงราย : โดยตัวเสาสะดือเมือง
มีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์

ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙)
ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณ
ที่จะต้องสร้างเสาสะดือเมืองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์
และมีความสูงเท่ากับส่วนสูงของพระวรกายของพระมหากษัตริย์

เสาสะดือเมืองเชียงราย
เสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างในรูปแบบศิลปะขอม  แบบพนมบาแกง
โดยยึดตามรูปแบบสมมติของจักรวาล หันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก
บริเวณด้านนอกสุดเป็นคูน้ำเหมือนในจักรวาล 
ลานดินถัดจากคูน้ำหมายถึงแผ่นดิน 
ลานด้านในยกเป็นชั้น ๆ จำนวน  ๖  ชั้น เปรียบเสมือนสวรรค์ทั้ง  ๖  ชั้น
โดยแต่ละชั้นจะมีร่องน้ำคั่นกลาง เหมือนปัญจมหานที
ไหลลดหลั่นกันลงสู่พื้นดิน 
ชั้นในสุดยกเป็น ๓ ชั้น หมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และนิพพาน
ตัวเสาสะดือเมือง ตั้งโดดเด่นดั่งเขาพระสุเมรุอยู่บนฐานสามเหลี่ยมยกพื้นสูง
ซึ่งเปรียบเสมือนตรีกูฏบรรพต หรือผา ๓ เส้า มีเสาบริวารล้อมรอบจำนวน ๑๐๘ ต้น

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
เสาสะดือเมืองเชียงราย

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
เสาสะดือเมืองเชียงรายและเสาบริวารแกะสลักจากหิน
โดยฝีมือของนายสิงห์คำ สมเครือ ช่างฝีมือชาวพะเยา

หลักหินบอกเล่าเรื่องราวเสาสะดือเมืองเชียงราย
หลักหินอ่อนแกะสลักบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา
เสาสะดือเมืองเชียงราย

พระธาตุดอยจอมทอง จังหวัดเชียงราย
พระธาตุดอยจอมทอง จังหวัดเชียงราย
บริเวณทิศเหนือของเสาสะดือเมืองเชียงราย
กล่องร่วมทำบุญ วัดพระธาตุดอยจอมทอง จังหวัดเชียงราย
กล่องร่วมทำบุญสรงน้ำพระธาตุ และยกช่อฟ้า
วัดพระธาตุดอยจอมทอง จังหวัดเชียงราย
ในวันจันทร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
เวลา ๐๙.๐๐ น.
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ (วันมาฆบูชา)

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา (Phra Nakhon Si Ayutthaya City Pillar Shrine)

ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา
ณ วันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา (Phra Nakon Si Ayutthaya City Pillar Shrine)        
ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา เป็นสถาปัตยกรรมไทย มณฑปจตุรมุขทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่ออิฐฉาบปูนขาว มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน  ส่วนของอาคารศาลหลักเมืองมีบันไดขึ้นลงเพียง ๓ ด้าน ด้วยมีการก่อสร้างอาคารที่ประทับไว้ทางด้านทิศตะวันตก หลังคาเป็นยอดปรางค์ประดับฝักเพกา (ลำภุขัน) มีลักษณะคล้ายวชิราวุธอันเป็นอาวุธของพระอินทร์นำมาซ้อนกัน ๓ ชั้น

เสาหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา ทำจากไม้มงคลชัยพฤกษ์ ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัวแก้วซ้อนกัน ๗ ชั้น ส่วนของเสาหลักเมือง ฐานเสาสูงจากอาคารชั้นล่างขึ้นมาอาคารชั้นบนที่ทำกระจกแก้วครอบไว้อีกชั้นหนึ่ง

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  หลายฉบับกล่าวความต้องกันว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ( พระเจ้าอู่ทอง)  ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ พุทธศักราช ๑๘๙๓ ชีพ่อพราหมณ์ ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักษิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง สันนิษฐานว่าได้มีการสถาปนาหลักเมืองขึ้นในคราวเดียวกัน  แต่ได้ปรักหักพังสูญไป ในคราวพุทธศักราช ๒๓๑๐  และมิได้สถาปนาใหม่ในสมัยกรุงธนบุรี  


ที่ตั้งของหลักเมืองเดิมนั้น  จากหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ และหลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดีบ่งว่า ศาลหลักเมืองตั้งอยู่ใกล้กับศาลพระกาฬและสี่แยกตะแลงแกง เนื่องในมหามงคลสมัยสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ดำริให้สร้างศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยาขึ้นใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลตามประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
ประวัติศาลหลักเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อปีพุทธศักราช  ๒๕๒๕  กรมศิลปากรเป็นผู้กำหนดภูมิสถาน  ออกแบบ ก่อสร้าง  โดย : สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  (วาสน์  วาสโน)  ได้เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์  และ ฯพณฯ พลเอกสิทธิ์  จิรโรจน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลหลักเมือง  เมื่อวันพฤหัสบดีที่  ๒๓  กันยายน  พุทธศักราช  ๒๕๒๕  เวลา  ๐๘.๕๙  นาฬิกา

            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม  ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมองค์หลักเมือง  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๙  สิงหาคม  พุทธศักราช ๒๕๒๗  เวลา ๐๗.๐๐ นาฬิกา   ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 

        ศาลหลักเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ประกอบพิธีเปิดอาคารศาลหลักเมือง เมื่อวันพุธที่  ๓๑ ตุลาคม  พุทธศักราช  ๒๕๒๗

ศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา
ในปัจจุบันยังคงความสวยงามหลังจากได้รับการบูรณะครั้งใหญ่
สีขาวของอาคารศาลหลักเมืองที่ตั้งเด่นอยู่กลางแมกไม้เขียวที่ร่มรื่น

ศาลหลักเมือง
                    ความเชื่อในสมัยก่อนนั้น นิยมสร้างศาลหลักเมืองขึ้นเพื่อจุดประสงค์คือ เป็นที่รวมตัวประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นมิ่งขวัญ นิมิตมงคลแก่ประชาชน และเป็นสัญลักษณ์และเป็นจุดหลักบ้านหลักเมือง บ้านเมืองนั้นย่อมร่มเย็นเป็นสุข หลักเมืองต้องฝังไว้ในย่านกลางเมือง หรือในทำเลที่เป็นชัยภูมิ ตามทิศทางของเมือง และในสมัยโบราณนั้นเมืองเอกหรือเมืองชั้นราชธานี ย่อมมีฝังหลักเมืองไว้เป็นนิมิตมงคลสำหรับเมืองทุกเมือง 

ศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมือง
  เสาหลักเมืององค์จริง
สูงจากพื้นดินอาคารชั้นล่าง ขึ้นไปสู่ยอดพระปรางค์ด้านบน
ไม่อนุญาตให้ปิดทอง ผูกผ้าแพร
เสาหลักเมืองจำลอง
                            เสาหลักเมืองจำลอง ที่อนุญาตให้ปิดทอง ผูกผ้าแพร ๓ สีได้ 
คำขอขมากรรมองค์พระหลักเมือง
กล่าวคำขอขมากรรม - คำบูชาองค์พระหลักเมือง
ตามป้ายที่มีไว้ทุกด้านของศาลหลักเมือง
            
ศาลหลักเมือง
          
ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา 
ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  


วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Pillar Shrine)

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ณ วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙


ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Pillar Shrine)

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นศาลหลักเมืองที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันตั้งอยู่ : ณ บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ทรงรับอัญเชิญเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ แล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระนครมายังฝั่งตรงข้ามกับกรุงธนบุรี มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์และพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองก่อสร้างพระมหานคร และพระบรมมหาราชวัง 

          และพระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  (รัชกาลที่ ๑) ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ เวลา ๖.๕๔ นาฬิกา (ในเวลาย่ำรุ่ง ๕๔ นาที)  ณ ชัยภูมิใจกลางพระนครใหม่  ที่พระราชทานนามว่า "กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา"  หรือเรียกกันต่อมาว่า "กรุงเทพมหานคร"  สถิตสถาพรเป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทย การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตรงตาม พระตำราที่เรียกว่า "พระราชพิธีนครฐาน" โดยใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกบด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา ๒๙ เซนติเมตร สูง ๑๘๗ นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน ๑๐๘ นิ้ว ฝังลงในดินลึก ๗๙ นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงพระชันษาพระนคร (ดวงชะตาเมือง)




   จวบจนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)  พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเสาหลักเมืองต้นใหม่ โดยให้ขุดเสาหลักเมืองเดิมและจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนต้นเดิมที่ชำรุดไปตามกาลเวลาเป็นแกนไม้สัก ประกบด้านนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิมและหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ที่ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕  ซึ่งในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงผูกดวงชะตาพระนครขึ้นใหม่ ให้ถูกต้องตรงตามดวงพระราชสมภพ  เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทั้งหลายที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารประสบความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น

         ดังนั้น : ภายในศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร  จึงมีเสาหลักเมืองจำนวน ๒ ต้น  ซึ่งเสาหลักเมืองต้นสูงสถาปนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  (รัชกาลที่ ๑)  และได้ทำพิธีถอนเสาแล้ว  ส่วนเสาต้นที่สูงรองลงมาเป็นเสาหลักเมืองที่สถาปนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) นั่นเอง



 ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง ๕ คือพระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง, พระกาฬไชยศรี, เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง มีการจัดละครรำ ละครชาตรี ให้ผู้ต้องการบูชาว่าจ้างรำบูชาศาลหลักเมืองอยู่ด้านข้าง

ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๙  ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะปรับปรุงให้มีความงดงามบริบูรณ์สมกับเป็นที่สถิตแห่งพระหลักเมืองและองค์เทพารักษ์ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นเทพารักษ์คุ้มครองพระนครทั้ง ๕ องค์  ได้แก่ พระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง, พระกาฬไชยศรี, เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง  ที่ประดิษฐาน  ณ  ศาลหลักเมืองแห่งนี้  เป็นองค์เดิมที่สร้างขึ้นเมื่อสมัย รัชกาลที่ ๑  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕  ได้มีการปรับปรุงพระนครครั้งใหญ่  มีการสร้างสถานที่ราชการและขยายถนนเพิ่มขึ้น  จึงได้ย้านเทพารักษ์ทั้ง ๕ จากที่เดิมมาประดิษฐาน  ณ  ศาลหลักเมือง  เพื่อทำหน้าที่ดูแล  รักษาพระนครและประเทศชาติ  ซึ่งพระมหากษัตริย์และประชาชนให้ความเคารพนับถือมาแต่โบราณกาลว่า  สามารถอำนวยความสุขสวัสดี  พิพัฒนมงคล  ป้องกันภัยพาลพิบัติอุปัทวทุกข์ทุกประการแก่ผู้เคารพบูชาได้

หน้าที่ขององค์เทพารักษ์ทั้ง ๕ องค์
พระเสื้อเมือง : เป็นเทพารักษ์ที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบก ทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน
พระทรงเมือง :  เป็นเทพารักษ์รักษาการปกครอง และรักษากระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี 
พระกาฬไชยศรี : เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก
เจ้าเจตคุปต์ : เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไป และ อ่านประวัติของผู้ตายเสนอพระยม
เจ้าหอกลอง เป็นเทพารักษ์ประจำหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่าคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และ เที่ยงคืน เกิดอัคคีภัย หรือ มีข้าศึกศัตรูยกมาประชิดพระนคร

          ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครหรือบ้างก็เรียกว่า ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง, หลักเมือง เป็นอีกหนึ่งจุด ที่ประชาชนคนไทยนิยมไหว้พระ ๙ วัด มักจะมาสักการะกันในช่วงปีใหม่  การไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ ก็เพื่ออธิษฐานขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสริมหลักชัยให้ชีวิต  

          
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
https://th.wikipedia.org/wiki/ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

กราบสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Pillar Pay Homage)

กราบสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร 

                       บริเวณศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดพระแก้ว เดินข้ามถนนฝั่งตรงข้ามก็ถึงแล้วบูชาสักการะองค์พระหลักเมือง การไหว้ที่นี่นั้นต้องไหว้ถึง ๕ จุด ด้วยกัน โดยเรียงตามลำดับกันไป ดังนั้นเลยนำวิธีการไหว้ศาลหลักเมืองมาฝากค่ะ 
  
ลำดับขั้นตอนการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลหลักเมือง
จุดที่ ๑.  หอพระพุทธรูป
               * กราบไหว้องค์พระพุทธรูป ถวายดอกบัว
               * ใส่บาตรพระประจำวันเกิด
จุดที่ ๒.  องค์พระหลักเมืองจำลอง
               * จุดธูป เทียน ปิดทอง ผูกผ้าแพรสี ๓ สี
จุดที่ ๓.  องค์พระหลักเมืององค์จริง
               * กราบไหว้องค์พระหลักเมืองจริงถวายพวงมาลัย ๑ พวง
จุดที่ ๔.  หอองค์เทพารักษ์ทั้ง ๕
               * กราบไหว้ถวายพวงมาลัย ๕ พวง
จุดที่ ๕.  เติมน้ำมันตะเกียง พระประจำวันเกิด
               * เติมน้ำมันตะเกียง พระประจำวันเกิด
               * เติมน้ำมันตะเกียง สะเดาะเคราะห์
เก็บภาพสวย ๆ มาฝากค่ะ ตามมากราบสักการะองค์พระหลักเมืองกันเลยค่ะ

             ก้าวแรกมาถึงก็คงต้องมองหาจุดจำหน่ายดอกไม้ ธูป เทียน ก่อนเลยค่ะ ที่บริเวณทางเข้าศาลหลักเมืองก็จะเห็นป้ายบอกว่ามีดอกไม้จำหน่ายภายในศาลหลักเมือง และมีเวลาบอกว่า ศาลหลักเมือง เปิดเวลา 06.30 น.  และปิดเวลา 18.30 น.


    เดินตรงเข้าไปภายในศาลบริเวณกลางทาง ฝั่งตรงข้ามกับจุดที่มีศาลากราบองค์พระหลักเมืองจำลอง จะเห็นจุดจำหน่ายดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าแพร และน้ำมันตะเกียง โดยมีสำนักงานกิจการศาลหลักเมือง องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้ดูแล

ราคาเครื่องสักการะก็ไม่แพงค่ะ  มีราคาบอกไว้ชัดเจน 

ถ้าเอาทั้งชุดเลย ทางเจ้าหน้าที่เค้าก็จัดไว้ใส่ถาด ชุดละ ๖๐ บาทเองค่ะ  ก็จะประกอบด้วย ผ้าแพร ๓ สี - น้ำมันตะเกียง ๑ ขวด - ดอกบัว ๑ ดอก - -พวงมาลัยดอกดาวเรือง ๑ พวง - ธูปเทียนและทองคำเปลว ๑ ชุด

ได้ครบแล้ว ก็เดินไปทางเหนือเลยค่ะ ไปกราบพระที่หอพระพุทธรูปก่อนเลย  จุดนี้ให้ถวายดอกบัวเท่านั้น เอาดอกบัววางบนพานได้เลยค่ะ สวดมนต์ไหว้พระตามอัธยาศัยเลย  

ทางขวามือจะมีพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าให้กราบสักการะด้วยเช่นกันค่ะ  

เมื่อมองไปทางขวามือก็ทำบุญตักบาตรใส่เหรียญลงในบาตรพระ ให้ตรงกับพระประจำวันเกิดของเรา


ขยับมาซ้ายนิดหนึ่งจะมีองค์พระพุทธรูปเสี่ยงทาย ให้อธิษฐานจิตตั้งสมาธิถามเรื่องที่อยากทราบได้ ๑ เรื่องนะค่ะ (ขอบอกว่าท่านศักดิ์สิทธิ์จริงๆ ค่ะ)
วิธีอธิษฐานยกองค์พระเสี่ยงทายความสำเร็จ
การยกองค์พระเสี่ยงทาย
      * ผู้ชาย  :  นั่งขัดสมาธิ  มือจับฐานพระทั้ง ๒ ข้าง  
      * ผู้หญิง :  นั่งพับเพียบ  มือซ้ายจับฐานพระ  มือขวาจับไหล่พระ
                       แล้วตั้งจิตอธิษฐานให้เป็นสมาธิ  กล่าวนะโม ๓ จบ  ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลหลักเมือง  ขอพรให้การยกพระเสี่ยงทายในครั้งนี้ : จงสัมฤทธิ์ผลประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้  
ยกครั้งที่   ๑  :  (*เรื่องที่อธิษฐานถาม*)  ถ้าประสบความสำเร็จขอให้ยกองค์พระนี้ขึ้น
ยกครั้งที่ ๒ : (*อธิษฐานถามซ้ำเรื่องเดิม*) ถ้าประสบความสำเร็จขอให้ยกองค์พระนี้ไม่ขึ้น  ถ้าเป็นไปตามนี้แสดงว่าเรื่องที่ต้องการทราบประสบความสำเร็จ

ตามคุณสมบัติของพระพุทธรูปเสี่ยงทายนี้ :  ท่านสามารถอธิษฐานถามได้ในทุกเรื่องทั้งอดีต  ปัจจุบัน  อนาคต  ธุรกิจการงาน  เคราะห์และโชคลาภ  หรือเรื่องอื่นๆ ที่ท่านปรารถนาจะถาม


           เดินลงมาข้างล่าง กราบสักการะองค์พระหลักเมืองจำลอง  จุดธูป เทียน ปิดทอง ผูกผ้าแพรสี ๓ สี ณ จุดนี้ได้เลยค่ะ 
บริเวณจุดนี้เราก็จุดเทียน ปักธูปในกระถาง และปิดทองที่องค์พระเลยค่ะ เพราะภายในศาลหลักเมืององค์จริง เค้าห้ามจุดธูป จุดเทียน และปิดทองค่ะ

คำกล่าวบูชาสักการะองค์พระหลักเมือง

ผูกผ้าแพร ๓ สี ที่จุดเสาหลักเมืองจำลอง

เสร็จแล้วเดินเข้าไปในศาลหลักเมือง เพื่อกราบสักการะองค์พระหลักเมืององค์จริง จุดนี้วางถวายพวงมาลัย ๑ พวงบนพานค่ะ

ออกจากศาลหลักเมือง ประตูทิศตะวันออก จะเห็นหอองค์เทพารักษ์ทั้ง ๕ คือ พระเสื้อเมือง, พระทรงเมือง, พระกาฬไชยศรี, เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง ให้ขึ้นไปกราบสักการะและถวายพวงมาลัย ๕ พวงวางบนพานที่ทางเจ้าหน้าที่เค้าจัดไว้ให้ค่ะ

แล้วไปเติมน้ำมันตะเกียง พระประจำวันเกิด
               * เติมน้ำมันตะเกียง พระประจำวันเกิด
               * เติมน้ำมันตะเกียง สะเดาะเคราะห์
- - มีป้ายเขียนไว้ชัดเจนเลยค่ะว่า "กรุณาเติมน้ำมันเฉพาะวันเกิดของท่านเท่านั้น"

เทน้ำมันสักครึ่งขวดก็ได้ค่ะ แล้วอีกครึ่งขวดก็นำไปเทใส่ตะเกียงสะเดาะเคราะห์ค่ะ

ส่งท้ายในจุดอื่นๆ 
                กราบสักการะพระพุทธรูปจำลององค์หลวงพ่อโสธร


               กราบสักการะพระพิฆเนศวร


                 กราบสักการะและปิดทององค์พระสยามเทวาธิราช : เจว็ดไม้แกะสลัก  จำหลักรูปเทวดายืน พระกรขวาถือจักร พระกรซ้ายถือพระขันธ์ มีซุ้มประกอบตกแต่งด้วยลายพุดตานใบเทศ  (ขนาดกว้าง ๖๕ เซนติเมตร  สูง  ๑๗๐  เซนติเมตร)  ซึ่งสันนิษฐานว่า  สร้างขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔  (ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ  พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก - รัชกาลที่ ๑)

               กราบสักการะพระคลังมหาสมบัติ  :  เจว็ดไม้แกะสลัก  จำหลักรูปเทวดายืน พระกรขวาถือดอกบัว พระกรซ้ายถือพระขันธ์   (ขนาดกว้าง ๓๖.๕ เซนติเมตร  สูง  ๕๓  เซนติเมตร)  ซึ่งสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔  (ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ  พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก - รัชกาลที่ ๑)

                บานประตูและกรอบประตูศาลหลักเมืองโบราณ  ใช้วัสดุไม้สัก  มีลักษณะเป็นบานประตูไทยแบบบานคู่  มีอกเลา  ทาสีแดงชาด    ขนาดกว้าง  ๑๔๑ เซนติเมตร  สูง ๒๓๑  เซนติเมตร , กว้าง  ๑๓๑  เซนติเมตร  สูง  ๒๑๘  เซนติเมตร , กว้าง  ๑๖๒  เซนติเมตร  สูง  ๒๑๘  เซนติเมตร  อายุราวสมัยรัตนโกสินทร์  พุทธศักราช ๒๓๙๕
                  ตามประวัติแล้วสันนิษฐานว่าเป็นบานประตูของอาคารศาลหลักเมืองที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานเสาหลักเมืองใหม่และหลักเมืองเดิมที่ชำรุด  เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๕  ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน  พุทธศักราช ๒๕๒๙  ได้มีการบูรณะปรับปรุงศาลหลักเมือง  จึงได้รื้อบานประตูนี้ออก  และนำไปเก็บรักษาไว้ที่แผนกโรงงานในอารักษ์  กองอาชีพ  ฝ่ายอาชีวสงเคราะห์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์  จนกระทั่งในปี พุทธศักราช ๒๕๕๘  องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเห็นว่า  บานประตูและกรอบประตูดังกล่าวเป็นสมบัติของศาลหลักเมือง  จึงนำกลับมาเก็บรักษาไว้ที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครไว้ดังเดิม

           และภายในศาลหลักเมืองยังมีตู้กระจกบรรจุไม้ขนุน  ที่ใช้หนุนรองรับเสาหลักเมือง  ในการประกอบพิธีเมื่อครั้งปฏิสังขรณ์  เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๗

             จุดนี้อยู่ด้านนอกศาลหลักเมืองทางทิศตะวันตก  จะมีอ่างน้ำพระพุทธมนต์  ให้ท่านสามารถนำกลับบ้านได้ด้วย

           ด้านตรงข้ามกับหอพระพุทธรูป  จะมีโรงละครประจำศาลหลักเมือง  ซึ่งจะเปิดให้ชมละครรำถวายองค์พระหลักเมือง(..ชมฟรี..)  เปิดแสดงวันจันทร์-วันเสาร์  เวลา 09.00-15.30 น.  และวันอาทิตย์  เวลา  09.00-16.00 น.   ส่วนเรื่องที่จะแสดงก็สามารถอ่านดูได้ที่กระดานดำภายในโรงละครค่ะ ว่าวันนี้มีคณะอะไรมาแสดง  ใครเป็นเจ้าภาพ  และจะแสดงเรื่องอะไร