สารบัญศาลหลักเมือง

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี (Pathumthani City Pillar Shrine)

ศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี 
ณ วันอาทิตย์ที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙


ศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี  (Pathumthani City Pillar Shrine)
           ปัจจุบันศาลหลักเมืองตั้งอยู่บริเวณ หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี ถนนปทุมธานี-สามโคก  ตำบลบางปรอก  อำเภอเมืองปทุมธานี  จังหวัดปทุมธานี
           


           ศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของจังหวัดปทุมธานี เป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดปทุมธานี เป็นศาลาแบบจตุรมุขยอดปรางค์ มีลักษณะคล้ายก้านดอกบัวหลวง  เหนือขึ้นไปเป็นฐานกลีบบัวรองรับมณฑป มีซุ้มประตูทั้ง ๔ ทิศ ประตูเข้า-ออก ได้ ๓ ประตู ประตูด้านหลังของมณฑปปิดทึบบรรจุพระยอดธงวัดไก่เตี้ย  อีกทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมายประกอบด้วย เครื่องรางของขลังที่รวบรวมมาจากวัดต่าง ๆ ในจังหวัดปทุมธานี

            ภายในมณฑปประดิษฐานเสาหลักเมือง ซึ่งมีลักษณะเป็นเสากลม ทำจากไม้ชัยพฤกษ์ ฐานแกะสลักเป็นดอกบัวรองรับ หัวเสาแกะเป็นลูกบัวแก้ว และเสาหลักเมืองจำลองทั้ง ๙ องค์ในลักษณะแบบเดียวกัน

           ด้านในศาลหลักเมืองยังตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์  และด้านหลังตรงกลางเป็นรูปหล่อโลหะ พระกาฬไชยศรี ประทับบนหลังนกแสก  ด้านขวาเป็น พระเสื้อเมือง รูปเทวดาสวมมงกุฎ พระหัตถ์ขวาถือคฑา ด้านซ้ายเป็น พระสยามเทวาธิราช รูปเทวดาสวมมงกุฎ พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์
เสาหลักเมือง มีลักษณะเป็นเสากลม ทำจากไม้ชัยพฤกษ์
ฐานแกะสลักเป็นดอกบัวรองรับ หัวเสาแกะเป็นลูกบัวแก้ว
เสาหลักเมืองจำลองเล็ก จำนวน ๙ เสา
มีลักษณะเป็นเสากลม ฐานแกะสลักเป็นดอกบัวรองรับ
หัวเสาแกะเป็นลูกบัวแก้ว เช่นเดียวกับเสาหลักเมืององค์จริง
เพดานด้านบนเหนือเสาหลักเมือง จำลองเป็นรูปดอกบัวอย่างสวยงาม
โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
และด้านหลังตรงกลางเป็นรูปหล่อโลหะ 
พระกาฬไชยศรี
ด้านขวาเป็น พระเสื้อเมือง ด้านซ้ายเป็น พระสยามเทวาธิราช
คำกล่าวบูชาสักการะองค์พระหลักเมือง
พระคาถาสวดบูชา พระสยามเทวาธิราช
อธิษฐานยกช้างเสี่ยงทายความสำเร็จ
อธิษฐานเสี่ยงทายกับเซียมซีในศาลหลักเมืองปทุมธานี
เติมน้ำมันตะเกียงในศาลหลักเมืองปทุมธานี



ศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี เป็นศาลาแบบจตุรมุขยอดปรางค์
มีลักษณะคล้ายก้านดอกบัวหลวง เหนือขึ้นไปเป็นฐานกลีบบัวรองรับมณฑป

มีซุ้มประตูทั้ง ๔ ทิศ ประตูเข้า-ออก ได้ ๓ ประตู
ประตูด้านหลังของมณฑปปิดทึบบรรจุพระยอดธงวัดไก่เตี้ย

อีกทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมายจากวัดต่าง ๆ ในจังหวัดปทุมธานี

ประวัติศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี 
          ศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี ได้เริ่มทำพิธีสะเดาะพื้นที่ที่จะสร้างศาลหลักเมืองเมื่อวันที่  ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙  และเมื่อวันจันทร์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ตรงกับเวลา ๑๕.๐๐ น. เดือนยี่ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) ได้เสด็จมา ทรงเป็นประธานวางศิลาฤกษ์หลักเมือง ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี

           ซึ่งทางกรมศิลปากร ได้เป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมือง ซึ่งทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ที่ทางกรมป่าไม้ได้นำมาจากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์มอบให้ ครั้นเมื่อประดิษฐ์เสร็จเรียบร้อยแล้วได้นำเข้าพระตำหนักสวนจิตรลดาเพื่อทูลเกล้า ฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ทรงเจิมเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เวลาฤกษ์ ๐๘.๒๙ น. และในคืนนี้เวลาประมาณ ๕ ทุ่ม (๒๓.๐๐ น.) ได้เกิดจันทรคราสจับครึ่งดวงเป็นที่น่าอัศจรรย์
           
            เมื่อสร้างตัวศาลหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้กำหนดการประกอบพิธียกเสาหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี เมื่อวันพุธที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี


            ไม้ชัยพฤกษ์จากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นไม้มงคลอย่างยิ่ง ได้รับการคัดเลือกสายพันธุ์อย่างดี ลำต้นใหญ่ เมื่อกรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองปทุมธานีแล้ว ยังมีส่วนเหลือของลำต้นที่สวยงามของไม้ชัยพฤกษ์ คณะกรรมการดำเนินงานจึงดำริจัดสร้างเสาหลักเมืองอีกสี่มุมเมือง

เสาหลักเมืองทุกมุมทิศของจังหวัดปทุมธานี ในการนี้จึงได้กำหนดให้
อำเภอหนองเสือ         เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศเหนือ
อำเภอลาดหลุมแก้ว     เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศตะวันตก
อำเภอธัญบุรี (รังสิต)    เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศตะวันออก
อำเภอลำลูกกา           เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศใต้

เทวดาผู้ปกป้องรักษาศาลหลักเมืองทุกมุมทิศของจังหวัดปทุมธานี
ศาลหลักเมืองหลัก-อ.เมือง           “ท่านศรีวิมุติ”
ทิศเหนือ-อ.หนองเสือ                   “ท่านศรีสุวรรณ”
ทิศตะวันตก-อ.ลาดหลุมแก้ว         “ท่านศรีรังสรรค์”         
ทิศตะวันออก-อ.ธัญบุรี (รังสิต)       “ท่านศรีรามภพ”        
ทิศใต้-อ.ลำลูกกา                        “ท่านศรีพยัพ”

            ปัจจุบันศาลหลักเมืองตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดปทุมธานี มีผู้คนมากราบไหว้บูชากันอยู่มิได้ขาด นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นศูนย์รวมน้ำใจของชาวปทุมธานี ให้มีความรักสมัครสมานสามัคคีกันให้แข็งแกร่ง เพื่อปกป้องคุ้มครองสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพรักของชาวไทย 
  ศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี
ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณ : หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี
ถนนปทุมธานี-สามโคก  ตำบลบางปรอก
อำเภอเมืองปทุมธานี  จังหวัดปทุมธานี

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี Pathumthani (Lat Lum Kaeo) City Pillar Shrine

ศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว  จังหวัดปทุมธานี
ณ วันพุธที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ 

ศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี Pathumthani  (Lat Lum Kaeo) City Pillar Shrine
      ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว  ริมถนนปทุมธานี-บางเลน หมู่ที่ 1 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว  จังหวัดปทุมธานี     

      ศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นศาลหลักเมืองมุมเมืองด้านทิศตะวันตก  เป็นสถาปัตยกรรมไทย มณฑปจัตุรมุขทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลักษณะคล้ายก้านดอกบัวหลวง  เหนือขึ้นไปเป็นฐานกลีบบัวรองรับมณฑป  ก่ออิฐฉาบปูนขาว หลังคาเป็นยอดปรางค์ ส่วนของยอดปรางค์ประดับฝักเพกา (ลำภุขัน) มีลักษณะคล้ายวชิราวุธอันเป็นอาวุธ ของพระอินทร์นำมาซ้อนกัน ๓ ชั้น  มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน  หน้าบันประดับด้วยปูนปั้นรูปท้องนาและดอกบัวหลวง 



     ภายในมณฑปประดิษฐานเสาหลักเมือง ซึ่งมีลักษณะเป็นเสากลม ทำจากไม้ชัยพฤกษ์ ฐานแกะสลักเป็นดอกบัวรองรับ หัวเสาแกะเป็นลูกบัวแก้ว 
ป้ายบริเวณหน้าทางเข้าศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว (ปทุมธานี)
ศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้วทางเข้าด้านหน้าตกแต่งสวนอย่างสวยงาม
บริเวณด้านหลังศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว
ภายในศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมือง
ป้ายคำกล่าวบูชาสักการะองค์พระหลักเมืองลาดหลุมแก้ว
ป้ายวางศิลาฤกษ์ศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว (ปทุมธานี)
เพดานภายในศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว ตกแต่งทาสีอย่างสวยงาม
เติมน้ำมันตะเกียงศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว
ทางศาลหลักเมืองลาดหลุมแก้ว (ปทุมธานี)
เตรียมธูป เทียน แผ่นทองคำเปลว เพื่อความสะดวกสำหรับผู้มาสักการะ






     ความเป็นมาของศาลหลักเมืองปทุมธานี : สืบเนื่องจากการสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี โดยนายสุธี โอบอ้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี (ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑) ดำริเห็นเป็นสำคัญว่า ควรจะสร้างศาลหลักเมืองไว้ให้มั่นคง เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวปทุมธานี พร้อมทั้งให้เกิดความรักสามัคคีกันให้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังนำความสงบสุข ร่มเย็น มาสู่เมืองด้วยความดำรินี้จึงเห็นพ้องต้องกันระหว่างข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้า และประชาชน ได้ร่วมกันสละทรัพย์คนละเล็กละน้อย ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองขึ้น
        ในการนี้ทางกรมศิลปากรได้เป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาศาลหลักเมือง ซึ่งทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ที่ทางกรมป่าไม้ได้นำมาจากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ มอบให้ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองปทุมธานี เริ่มทำพิธีสะเดาะพื้นที่ที่จะสร้างศาลหลักเมือง เพื่อความสวัสดีมงคลเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙  วางศิลาฤกษ์หลักเมืองปทุมธานี วันจันทร์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับเวลา ๑๕.๐๐ น. เดือนยี่ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง
        กรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นำเข้าพระตำหนักสวนจิตรลดา เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ  (รัชการที่ ๙) ทรงเจิมเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เวลาฤกษ์ ๐๘.๒๙  น. และในคืนนี้เวลาประมาณ ๕ ทุ่ม (๒๓.๐๐ น.) ได้เกิดจันทรคลาสจับครึ่งดวงเป็นที่อัศจรรย์
        พิธียกเสาหลักเมืองปทุมธานี วันพุธที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ศาลหลักเมืองปทุมธานีจึงตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี
     ไม้ชัยพฤกษ์จากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นไม้มงคลอย่างยิ่ง ได้รับการคัดเลือกสายพันธุ์อย่างดี ลำต้นใหญ่ เมื่อกรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองปทุมธานีแล้ว ยังมีส่วนเหลือของลำต้นที่สวยงามของไม้ชัยพฤกษ์ คณะกรรมการดำเนินงานจึงดำริจัดสร้างเสาหลักเมืองอีกสี่มุมเมือง
เสาหลักเมืองทุกมุมทิศของจังหวัดปทุมธานี ในการนี้จึงได้กำหนดให้
อำเภอหนองเสือ         เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศเหนือ
อำเภอลาดหลุมแก้ว     เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศตะวันตก
อำเภอธัญบุรี               เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศตะวันออก
อำเภอลำลูกกา           เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศใต้

เทวดาผู้ปกป้องรักษาศาลหลักเมืองทุกมุมทิศของจังหวัดปทุมธานี
ศาลหลักเมืองหลัก-อ.เมือง           “ท่านศรีวิมุติ”
ทิศเหนือ-อ.หนองเสือ                   “ท่านศรีสุวรรณ”
ทิศตะวันตก-อ.ลาดหลุมแก้ว         “ท่านศรีรังสรรค์”         
ทิศตะวันออก-อ.ธัญบุรี (รังสิต)       “ท่านศรีรามภพ”        
ทิศใต้-อ.ลำลูกกา                        “ท่านศรีพยัพ”

ความเป็นมาของศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว
       ศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว  ได้ดวงฤกษ์สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อันเป็นศุภดิถีมงคลวาร  ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๒ ปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๓๕๖ ตรงกับวันที่ ๘ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๘
       เวลา   ๑๐.๔๙ น.   เป็นปฐมฤกษ์
        เวลา  ๑๑.๒๙ น.   ที่สุดแห่งฤกษ์
ลักคณาสถิตราศีมีน  เกาะทุติยตรียางค์ ๒  จตุตถนวางค์ ๔
        จันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๗ สมโณฤกษ์
         ประกอบไปด้วย  ราชาแห่งฤกษ์


ศาลหลักเมืองอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
Pathumthani (Lat Lum Kaeo) City Pillar Shrine
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว
ริมถนนปทุมธานี-บางเลน หมู่ที่ 1 ตำบลระแหง
อำเภอลาดหลุมแก้ว  จังหวัดปทุมธานี




วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี Pathumthani (Lamlukka) City Pillar Shrine

ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา  จังหวัดปทุมธานี
ณ วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา  จังหวัดปทุมธานี Pathumthani (Lamlukka) City Pillar Shrine
     ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอลำลูกกา หมู่ที่ ๒๑ ตำบลลาดสวายคลองสี่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี      
     ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นศาลหลักเมืองมุมเมืองด้านทิศใต้ เป็นศาลาแบบจตุรมุขยอดปรางค์ มีลักษณะคล้ายก้านดอกบัวหลวง  เหนือขึ้นไปเป็นฐานกลีบบัวรองรับมณฑป มีซุ้มบานประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ทิศ
     ภายในมณฑปประดิษฐานเสาหลักเมือง ซึ่งมีลักษณะเป็นเสากลม ทำจากไม้ชัยพฤกษ์ ฐานแกะสลักเป็นดอกบัวรองรับ หัวเสาแกะเป็นลูกบัวแก้ว
    
ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีบริเวณโดยรอบมีรั้วล้อมรอบและยกพื้นสูงปูกระเบื้อง
เสาหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ทำจากไม้มงคลเป็นไม้ชัยพฤกษ์
ป้ายคาถาบูชาองค์พระหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
เชิงเทียนรูปเรือสุพรรณหงส์
ฝ้าเพดานภายในศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
หน้าบันศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
เป็นรูปปูนปั้นวิถีชีวิตของชาวลำลูกกาเกี่ยวกับการทำนา ลุ่มน้ำ และนกกา
     ความเป็นมาของศาลหลักเมืองปทุมธานี : สืบเนื่องจากการสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี โดยนายสุธี โอบอ้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี (ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑) ดำริเห็นเป็นสำคัญว่า ควรจะสร้างศาลหลักเมืองไว้ให้มั่นคง เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวปทุมธานี พร้อมทั้งให้เกิดความรักสามัคคีกันให้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังนำความสงบสุข ร่มเย็น มาสู่เมืองด้วยความดำรินี้จึงเห็นพ้องต้องกันระหว่างข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้า และประชาชน ได้ร่วมกันสละทรัพย์คนละเล็กละน้อย ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองขึ้น
        ในการนี้ทางกรมศิลปากรได้เป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาศาลหลักเมือง ซึ่งทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ที่ทางกรมป่าไม้ได้นำมาจากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ มอบให้ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองปทุมธานี เริ่มทำพิธีสะเดาะพื้นที่ที่จะสร้างศาลหลักเมือง เพื่อความสวัสดีมงคลเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙  วางศิลาฤกษ์หลักเมืองปทุมธานี วันจันทร์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับเวลา ๑๕.๐๐ น. เดือนยี่ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง
        กรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นำเข้าพระตำหนักสวนจิตรลดา เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชการที่ ๙) ทรงเจิมเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เวลาฤกษ์ ๐๘.๒๙  น. และในคืนนี้เวลาประมาณ ๕ ทุ่ม (๒๓.๐๐ น.) ได้เกิดจันทรคลาสจับครึ่งดวงเป็นที่อัศจรรย์
        พิธียกเสาหลักเมืองปทุมธานี วันพุธที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ศาลหลักเมืองปทุมธานีจึงตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี
     
        ส่วนไม้ชัยพฤกษ์จากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นไม้มงคลอย่างยิ่ง ได้รับการคัดเลือกสายพันธุ์อย่างดี ลำต้นใหญ่ เมื่อกรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองปทุมธานีแล้ว ยังมีส่วนเหลือของลำต้นที่สวยงามของไม้ชัยพฤกษ์ คณะกรรมการดำเนินงานจึงดำริจัดสร้างเสาหลักเมืองอีกสี่มุมเมือง
      เสาหลักเมืองทุกมุมทิศของจังหวัดปทุมธานี ในการนี้จึงได้กำหนดให้
อำเภอหนองเสือ     เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศเหนือ
อำเภอลาดหลุมแก้ว เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศตะวันตก
อำเภอธัญบุรี          เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศตะวันออก
อำเภอลำลูกกา       เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศใต้ 

ความเป็นมาของอำเภอลำลูกกา
         อำเภอลำลูกกาในสมัยก่อนเป็นที่ราบลุ่มเต็มไปด้วยป่าพงป่าอ้อ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทั่วไป สภาพของพื้นที่เป็นที่รกร้างกว้างใหญ่ มีชื่อเรียกว่า ทุ่งหลวงต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๓๓ พระองค์ทรงเห็นว่าทุ่งหลวงกว้างใหญ่ไพศาลมาก ควรให้ประชาชนเข้ามาอยู่เป็นที่พักอาศัย ทำมาหากิน ประกอบกับมีพระราชดำริว่า กรุงสยาม คลองเป็นสำคัญ สมควรต้องขุดทุกปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ดำเนินการขุดคลองหกวา เริ่มจากคลองซอยที่ ๒ ไปจนถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นระยะทาง ๙๐๐ เส้นเศษ และขุดคลองซอยที่เป็นระยะห่างกัน ๖๐ เส้น จำนวน ๑๖ คลอง ผลจากการขุดคลองนี้ทำให้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นกันดารต่างอพยพหลั่งไหลเข้ามาอาศัยอยู่และทำการเพราะปลูกมากยิ่งขึ้น

            สำหรับชื่ออำเภอลำลูกกาตามประวัตินี้บอกว่า แต่เดิมนั้นในท้องที่อำเภอนี้มีลำธารไหลผ่านมาบรรจบเป็นรูปตีนกา และปรากฏว่ามีนกเข้ามาอาศัยทำรังเป็นจำนวนมาก เพราะพื้นที่อำเภอนี้เป็นจุดรวมของแม่น้ำลำธารนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง ปลาอาหารของสัตว์นานาชนิด ประชาชนจึงเรียกบึงนี้ว่า บึงลำลูกกา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นใกล้กับบึงนี้เมื่อประมาณ พุทธศักราช ๒๔๔๗  จึงขนานนามว่า “อำเภอลำลูกกา ด้วยสันนิษฐานว่าเป็นเพราะนิยมใช้คำสั้นๆ  
ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีเป็นศาลหลักเมืองมุมเมืองด้านทิศใต้ของจังหวัด
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอลำลูกกา
หมู่ที่ ๒๑ ตำบลลาดสวายคลองสี่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี