สารบัญศาลหลักเมือง

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี Pathumthani (Lamlukka) City Pillar Shrine

ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา  จังหวัดปทุมธานี
ณ วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา  จังหวัดปทุมธานี Pathumthani (Lamlukka) City Pillar Shrine
     ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอลำลูกกา หมู่ที่ ๒๑ ตำบลลาดสวายคลองสี่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี      
     ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นศาลหลักเมืองมุมเมืองด้านทิศใต้ เป็นศาลาแบบจตุรมุขยอดปรางค์ มีลักษณะคล้ายก้านดอกบัวหลวง  เหนือขึ้นไปเป็นฐานกลีบบัวรองรับมณฑป มีซุ้มบานประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ทิศ
     ภายในมณฑปประดิษฐานเสาหลักเมือง ซึ่งมีลักษณะเป็นเสากลม ทำจากไม้ชัยพฤกษ์ ฐานแกะสลักเป็นดอกบัวรองรับ หัวเสาแกะเป็นลูกบัวแก้ว
    
ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีบริเวณโดยรอบมีรั้วล้อมรอบและยกพื้นสูงปูกระเบื้อง
เสาหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ทำจากไม้มงคลเป็นไม้ชัยพฤกษ์
ป้ายคาถาบูชาองค์พระหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
เชิงเทียนรูปเรือสุพรรณหงส์
ฝ้าเพดานภายในศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
หน้าบันศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
เป็นรูปปูนปั้นวิถีชีวิตของชาวลำลูกกาเกี่ยวกับการทำนา ลุ่มน้ำ และนกกา
     ความเป็นมาของศาลหลักเมืองปทุมธานี : สืบเนื่องจากการสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดปทุมธานี โดยนายสุธี โอบอ้อม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี (ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑) ดำริเห็นเป็นสำคัญว่า ควรจะสร้างศาลหลักเมืองไว้ให้มั่นคง เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวปทุมธานี พร้อมทั้งให้เกิดความรักสามัคคีกันให้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังนำความสงบสุข ร่มเย็น มาสู่เมืองด้วยความดำรินี้จึงเห็นพ้องต้องกันระหว่างข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้า และประชาชน ได้ร่วมกันสละทรัพย์คนละเล็กละน้อย ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองขึ้น
        ในการนี้ทางกรมศิลปากรได้เป็นผู้ออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาศาลหลักเมือง ซึ่งทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ที่ทางกรมป่าไม้ได้นำมาจากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ มอบให้ดำเนินการสร้างศาลหลักเมืองปทุมธานี เริ่มทำพิธีสะเดาะพื้นที่ที่จะสร้างศาลหลักเมือง เพื่อความสวัสดีมงคลเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๙  วางศิลาฤกษ์หลักเมืองปทุมธานี วันจันทร์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ตรงกับเวลา ๑๕.๐๐ น. เดือนยี่ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง
        กรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นำเข้าพระตำหนักสวนจิตรลดา เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชการที่ ๙) ทรงเจิมเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เวลาฤกษ์ ๐๘.๒๙  น. และในคืนนี้เวลาประมาณ ๕ ทุ่ม (๒๓.๐๐ น.) ได้เกิดจันทรคลาสจับครึ่งดวงเป็นที่อัศจรรย์
        พิธียกเสาหลักเมืองปทุมธานี วันพุธที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ศาลหลักเมืองปทุมธานีจึงตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่หน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานี
     
        ส่วนไม้ชัยพฤกษ์จากสวนป่าลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นไม้มงคลอย่างยิ่ง ได้รับการคัดเลือกสายพันธุ์อย่างดี ลำต้นใหญ่ เมื่อกรมศิลปากรออกแบบประดิษฐ์ตัวเสาหลักเมืองปทุมธานีแล้ว ยังมีส่วนเหลือของลำต้นที่สวยงามของไม้ชัยพฤกษ์ คณะกรรมการดำเนินงานจึงดำริจัดสร้างเสาหลักเมืองอีกสี่มุมเมือง
      เสาหลักเมืองทุกมุมทิศของจังหวัดปทุมธานี ในการนี้จึงได้กำหนดให้
อำเภอหนองเสือ     เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศเหนือ
อำเภอลาดหลุมแก้ว เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศตะวันตก
อำเภอธัญบุรี          เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศตะวันออก
อำเภอลำลูกกา       เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองมุมทิศใต้ 

ความเป็นมาของอำเภอลำลูกกา
         อำเภอลำลูกกาในสมัยก่อนเป็นที่ราบลุ่มเต็มไปด้วยป่าพงป่าอ้อ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทั่วไป สภาพของพื้นที่เป็นที่รกร้างกว้างใหญ่ มีชื่อเรียกว่า ทุ่งหลวงต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๓๓ พระองค์ทรงเห็นว่าทุ่งหลวงกว้างใหญ่ไพศาลมาก ควรให้ประชาชนเข้ามาอยู่เป็นที่พักอาศัย ทำมาหากิน ประกอบกับมีพระราชดำริว่า กรุงสยาม คลองเป็นสำคัญ สมควรต้องขุดทุกปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ดำเนินการขุดคลองหกวา เริ่มจากคลองซอยที่ ๒ ไปจนถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นระยะทาง ๙๐๐ เส้นเศษ และขุดคลองซอยที่เป็นระยะห่างกัน ๖๐ เส้น จำนวน ๑๖ คลอง ผลจากการขุดคลองนี้ทำให้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นกันดารต่างอพยพหลั่งไหลเข้ามาอาศัยอยู่และทำการเพราะปลูกมากยิ่งขึ้น

            สำหรับชื่ออำเภอลำลูกกาตามประวัตินี้บอกว่า แต่เดิมนั้นในท้องที่อำเภอนี้มีลำธารไหลผ่านมาบรรจบเป็นรูปตีนกา และปรากฏว่ามีนกเข้ามาอาศัยทำรังเป็นจำนวนมาก เพราะพื้นที่อำเภอนี้เป็นจุดรวมของแม่น้ำลำธารนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง ปลาอาหารของสัตว์นานาชนิด ประชาชนจึงเรียกบึงนี้ว่า บึงลำลูกกา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นใกล้กับบึงนี้เมื่อประมาณ พุทธศักราช ๒๔๔๗  จึงขนานนามว่า “อำเภอลำลูกกา ด้วยสันนิษฐานว่าเป็นเพราะนิยมใช้คำสั้นๆ  
ศาลหลักเมืองอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีเป็นศาลหลักเมืองมุมเมืองด้านทิศใต้ของจังหวัด
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอลำลูกกา
หมู่ที่ ๒๑ ตำบลลาดสวายคลองสี่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น