สารบัญศาลหลักเมือง

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา (Phra Nakhon Si Ayutthaya City Pillar Shrine)

ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา
ณ วันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา (Phra Nakon Si Ayutthaya City Pillar Shrine)        
ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา เป็นสถาปัตยกรรมไทย มณฑปจตุรมุขทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่ออิฐฉาบปูนขาว มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน  ส่วนของอาคารศาลหลักเมืองมีบันไดขึ้นลงเพียง ๓ ด้าน ด้วยมีการก่อสร้างอาคารที่ประทับไว้ทางด้านทิศตะวันตก หลังคาเป็นยอดปรางค์ประดับฝักเพกา (ลำภุขัน) มีลักษณะคล้ายวชิราวุธอันเป็นอาวุธของพระอินทร์นำมาซ้อนกัน ๓ ชั้น

เสาหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา ทำจากไม้มงคลชัยพฤกษ์ ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัวแก้วซ้อนกัน ๗ ชั้น ส่วนของเสาหลักเมือง ฐานเสาสูงจากอาคารชั้นล่างขึ้นมาอาคารชั้นบนที่ทำกระจกแก้วครอบไว้อีกชั้นหนึ่ง

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  หลายฉบับกล่าวความต้องกันว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ( พระเจ้าอู่ทอง)  ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ พุทธศักราช ๑๘๙๓ ชีพ่อพราหมณ์ ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักษิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง สันนิษฐานว่าได้มีการสถาปนาหลักเมืองขึ้นในคราวเดียวกัน  แต่ได้ปรักหักพังสูญไป ในคราวพุทธศักราช ๒๓๑๐  และมิได้สถาปนาใหม่ในสมัยกรุงธนบุรี  


ที่ตั้งของหลักเมืองเดิมนั้น  จากหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ และหลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดีบ่งว่า ศาลหลักเมืองตั้งอยู่ใกล้กับศาลพระกาฬและสี่แยกตะแลงแกง เนื่องในมหามงคลสมัยสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ดำริให้สร้างศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยาขึ้นใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลตามประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
ประวัติศาลหลักเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อปีพุทธศักราช  ๒๕๒๕  กรมศิลปากรเป็นผู้กำหนดภูมิสถาน  ออกแบบ ก่อสร้าง  โดย : สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  (วาสน์  วาสโน)  ได้เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์  และ ฯพณฯ พลเอกสิทธิ์  จิรโรจน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลหลักเมือง  เมื่อวันพฤหัสบดีที่  ๒๓  กันยายน  พุทธศักราช  ๒๕๒๕  เวลา  ๐๘.๕๙  นาฬิกา

            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม  ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมองค์หลักเมือง  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๙  สิงหาคม  พุทธศักราช ๒๕๒๗  เวลา ๐๗.๐๐ นาฬิกา   ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 

        ศาลหลักเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ประกอบพิธีเปิดอาคารศาลหลักเมือง เมื่อวันพุธที่  ๓๑ ตุลาคม  พุทธศักราช  ๒๕๒๗

ศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา
ในปัจจุบันยังคงความสวยงามหลังจากได้รับการบูรณะครั้งใหญ่
สีขาวของอาคารศาลหลักเมืองที่ตั้งเด่นอยู่กลางแมกไม้เขียวที่ร่มรื่น

ศาลหลักเมือง
                    ความเชื่อในสมัยก่อนนั้น นิยมสร้างศาลหลักเมืองขึ้นเพื่อจุดประสงค์คือ เป็นที่รวมตัวประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นมิ่งขวัญ นิมิตมงคลแก่ประชาชน และเป็นสัญลักษณ์และเป็นจุดหลักบ้านหลักเมือง บ้านเมืองนั้นย่อมร่มเย็นเป็นสุข หลักเมืองต้องฝังไว้ในย่านกลางเมือง หรือในทำเลที่เป็นชัยภูมิ ตามทิศทางของเมือง และในสมัยโบราณนั้นเมืองเอกหรือเมืองชั้นราชธานี ย่อมมีฝังหลักเมืองไว้เป็นนิมิตมงคลสำหรับเมืองทุกเมือง 

ศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมือง
  เสาหลักเมืององค์จริง
สูงจากพื้นดินอาคารชั้นล่าง ขึ้นไปสู่ยอดพระปรางค์ด้านบน
ไม่อนุญาตให้ปิดทอง ผูกผ้าแพร
เสาหลักเมืองจำลอง
                            เสาหลักเมืองจำลอง ที่อนุญาตให้ปิดทอง ผูกผ้าแพร ๓ สีได้ 
คำขอขมากรรมองค์พระหลักเมือง
กล่าวคำขอขมากรรม - คำบูชาองค์พระหลักเมือง
ตามป้ายที่มีไว้ทุกด้านของศาลหลักเมือง
            
ศาลหลักเมือง
          
ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา 
ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น