ศาลหลักเมืองจังหวัดนนทบุรี
ณ วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ศาลหลักเมืองจังหวัดนนทบุรี
(Nonthaburi City Pillar Shrine)
ปัจจุบันตั้งอยู่ : ณ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี
ถนนรัตนาธิเบศร์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ศาลหลักเมืองนนทบุรี เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน หลังคาเป็นยอดปรางค์ ลักษณะหลังคาซ้อนสองชั้น หน้าบันแกะสลักไว้อย่างสวยงาม เสาหลักเมืองทำจากไม้มงคล ยอดเสาหลักเมืองแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตูม
สันนิษฐานว่าในอดีตศาลหลักเมืองนนทบุรีตั้งอยู่ที่ปากคลองอ้อม ตำบลบางศรีเมือง ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช ๒๒๐๘ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ตั้งเมืองนนทบุรี จากบ้านตลาดขวัญมาอยู่ที่ปากคลองอ้อม เพราะหลังจากขุดคลองลัดจากท้ายเมืองมาถึงปากคลองบางกรวย มาหน้าวัดเขมาภิรตารามแล้ว ทำให้กระแสน้ำไหลตรงกัดเซาะคลองลัด ทำให้คลองกว้างขึ้นจนกลายเป็นแม่น้ำ ซึ่งจะทำให้ข้าศึกสามารถเข้ามาประชิดพระนครได้ง่าย เพื่อเป็นการป้องกันข้าศึก พระองค์จึงทรงให้ย้ายเมืองนนทบุรีกลับไปที่ปากคลองอ้อมดังเดิม พร้อมทั้งสร้างป้อมปราการ (ป้อมทับทิม) และศาลหลักเมืองเพื่อคุ้มครองรักษาภยันตรายต่าง ๆ และได้ทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้ามาสถิต ๓ พระองค์ คือ พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง
สันนิษฐานว่าในอดีตศาลหลักเมืองนนทบุรีตั้งอยู่ที่ปากคลองอ้อม ตำบลบางศรีเมือง ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช ๒๒๐๘ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ตั้งเมืองนนทบุรี จากบ้านตลาดขวัญมาอยู่ที่ปากคลองอ้อม เพราะหลังจากขุดคลองลัดจากท้ายเมืองมาถึงปากคลองบางกรวย มาหน้าวัดเขมาภิรตารามแล้ว ทำให้กระแสน้ำไหลตรงกัดเซาะคลองลัด ทำให้คลองกว้างขึ้นจนกลายเป็นแม่น้ำ ซึ่งจะทำให้ข้าศึกสามารถเข้ามาประชิดพระนครได้ง่าย เพื่อเป็นการป้องกันข้าศึก พระองค์จึงทรงให้ย้ายเมืองนนทบุรีกลับไปที่ปากคลองอ้อมดังเดิม พร้อมทั้งสร้างป้อมปราการ (ป้อมทับทิม) และศาลหลักเมืองเพื่อคุ้มครองรักษาภยันตรายต่าง ๆ และได้ทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้ามาสถิต ๓ พระองค์ คือ พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายที่ตั้งเมืองนนทบุรีกลับมาตั้งที่บ้านตลาดขวัญดังเดิม
ในปัจจุบันศาลหลักเมือง
จึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง และเป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดนนทบุรี
ตั้งอยู่ ณ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี
ได้คอยปกป้องคุ้มครองรักษาบ้านเมืองให้ประชาชนได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
และเจริญรุ่งเรืองมาตราบนานเท่านาน
การสร้างศาลหลักเมืองถือเป็นการแสดงความเคารพและขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้ช่วยดูแลรักษาบ้านเมืองและชุมชนของตน
ศาลหลักเมืองจังหวัดนนทบุรีจึงเสมือนที่สถิตย์ของดวงวิญญาณที่จะคอยปกป้องบ้านเมืองให้ร่มเย็นปลอดภัยสืบไป
ในสมัยที่นายปริญญา
นาคฉัตรีย์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ขออนุมัติก่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่ ณ บริเวณศูนย์ราชการถนนรัตนาธิเบศร์
จึงได้สร้างศาลหลักเมืองขึ้นในบริเวณใกล้ศาลากลางจังหวัดด้วย
ซึ่งนับเป็นพระมหามิ่งมงคลอย่างล้นพ้น ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๒
งานก่อสร้างอาคารที่ประดิษฐานเสาหลักเมือง
และการจัดสร้างเสาหลักเมืองได้เสร็จเรียบร้อยในปี พุทธศักราช ๒๕๓๔
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะกรรมการจัดสร้างศาลหลักเมือง
ได้เข้าเฝ้าฯ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายยอดเสาหลักเมือง เพื่อทรงพระสุหร่าย
ทรงเจิม ทรงบรรจุแผ่นยันต์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
ก่อนอัญเชิญยอดเสาหลักเมืองขึ้นไปสวมคืนยังเสาหลักเมือง เพื่อความเป็นมหามิ่งมงคลแก่พสกนิกรชาวจังหวัดนนทบุรีต่อไป
ขณะที่อัญเชิญยอดเสาหลักเมือง
จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มายังที่ศาลหลักเมืองแห่งใหม่นี้นั้นปรากฏว่า
เมื่อขบวนรถที่อัญเชิญเสาหลักเมืองกลับมาถึงบริเวณหน้าศาลหลักเมืองตรงบริเวณถนนรัตนาธิเบศร์
รถยนต์ที่อัญเชิญยอดเสาหลักเมืองได้เกิดยางระเบิดทั้งสี่ล้อ เป็นที่อัศจรรย์
และรถไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้
เจ้าหน้าที่จึงต้องอัญเชิญโดยใช้คนหามยอดเสาหลักเมือง
มาประดิษฐานยังศาลหลักเมืองจึงสำเร็จเรียบร้อย
![]() |
บริเวณทางเข้าศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี |
![]() |
ภายในศาลาทางเดินของศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี ก็มีพวงมาลัย, ผ้าแพร ๓ สี, ธูป-เทียน, น้ำมันตะเกียง และแผ่นทองคำเปลว ซึ่งสามารถนำเงินบริจาคใส่ตู้แดงข้างโต๊ะได้ตามศรัทธาค่ะ |
![]() |
ศาลหลักเมืององค์จำลอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งตั้งอยู่ภายนอก จุดนี้ให้เราจุดธูป-เทียน, ผูกผ้าแพร ๓ สี, ถวายเครื่องสักการะ และมีป้ายบอกคำกล่าวบูชาสักการะองค์พระหลักเมือง |
![]() |
เสาหลักเมืองจำลอง จังหวัดนนทบุรี ผูกผ้าแพรและปิดทอง ณ บริเวณนี้ |
![]() |
เสาหลักเมืององค์จริง ภายในศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี |
![]() |
ภายในศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเสาหลักเมืององค์จริงนี้ ไม่อนุญาตให้ปิดทองค่ะ |
![]() |
พระสยามเทวาธิราชในศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี |
![]() |
พระคาถาสวดบูชา พระสยามเทวาธิราช ภายในศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) |
![]() |
อธิษฐานยกช้างเสี่ยงทายความสำเร็จภายในศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี |
![]() |
บริเวณด้านนอกศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี |
![]() |
ตู้เสี่ยงเซียมซี และตู้บริจาคบูรณะศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี |
![]() |
กลองและระฆัง บริเวณทางเดินเข้าศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี |
![]() |
สวนด้านนอกที่ตกแต่งไว้ด้วยตุ๊กตาปีนักษัตรน่ารักๆ ศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี |
![]() |
ศาลหลักเมือง จังหวัดนนทบุรี ณ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น