สารบัญศาลหลักเมือง

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี (Uthai Thani City Pillar Shrine)

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
ณ วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)

ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน  หลังคาเป็นยอดปรางค์ เสาหลักเมืองทำจากไม้มงคล

      สำหรับเสาหลักเมืองอุทัยธานี ตามตำนานกล่าวไว้ว่า สมัยก่อนไม่มีใครสนใจเรื่องเสาหลักเมือง จนกระทั่งมีคนกรุงเทพฯ เดินทางมาที่วัดหัวเมือง อำเภอหนองฉาง แล้วเล่าว่ามีคนไปเข้าฝันว่าเสาหลักเมืองอุทัยธานีเก่าอยู่ตรงไหน ให้จัดการตั้งเสาให้เรียบร้อย แล้วคนกรุงเทพฯ ก็เดินไปชี้จุดที่อยู่ของเสาที่รู้จากความฝัน อยู่บริเวณข้างวัดหัวเมืองทางทิศตะวันออก พบว่าเป็นเสาไม้แก่นไม้แต้ ซึ่งเดิมไม่มีผู้ใดสนใจ และนำไม้แก่นไปทำฟืนเหลืออยู่เพียงซีกเดียว จึงได้ทำพิธีย้ายเสาหลักเมืองมาไว้ข้างวัดหัวเมือง แล้วสร้างศาลาคลุมเสาหลักเมืองเอาไว้
      
ส่วนในตัวเมืองอุทัยธานีนั้น แต่เดิมไม่มีศาลหลักเมือง  ต่อมาจึงได้มีการสร้างศาลหลักเมืองขึ้นที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุทัยธานีในปัจจุบัน  โดยศาลหลักเมืองนี้ได้สร้างในสมัย นายสุดจิต  นิมิตกุล  เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีในสมัยนั้น  เหตุที่สร้างเสาหลักเมืองแห่งนี้  เนื่องจากแต่เดิมเมืองอุทัยธานี  มีเสาหลักเมืองเก่าอยู่ที่ ตำบลอุทัยเก่า  อำเภอหนองฉาง ในปัจจุบัน  ผู้คนที่มาสักการะศาลหลักเมืองที่นี่นอกจากจะได้รับความเป็นสิริมงคลแล้ว ก็ยังได้ชมความงดงามของแม่น้ำสะแกกรังที่อยู่ด้านหลังศาลหลักเมืองอีกด้วย 

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)
บริเวณด้านหน้าศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี

เสาหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
ภายในศาลหลักเมือง เป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
ที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม
เสาหลักเมือง องค์ศรีอุทัยเทวา ที่ปกปักษ์รักษาคุ้มครอง
เสาหลักเมืองจำลองบริเวณศาลาด้านนอกศาลหลักเมือง
องค์ศรีอุทัยเทวา ที่ปกปักษ์รักษาคุ้มครอง
พระสยามเทวาธิราช ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
องค์พระสยามเทวาธิราช บริเวณศาลาข้างศาลหลักเมือง 
พระพุทธรูปจำลอง ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
องค์พระพุทธรูปจำลอง บริเวณศาลาข้างศาลหลักเมือง
องค์จำลองหลวงปู่ทวดบริเวณศาลาข้างศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)
บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)
บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)
บริเวณภายนอกศาลหลักเมือง
และศาลาเสาหลักเมืองจำลองจังหวัดอุทัยธานี
ตุ๊กตาปูนปั้นช้างม้าที่มีบุคคลนำมาถวาย บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
ตุ๊กตาปูนปั้นช้างม้าที่มีบุคคลนำมาถวาย
บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
บริเวณภายนอกด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง
บริเวณภายนอกด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง

บริเวณภายนอกด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง
บริเวณภายนอกด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง
บริเวณภายนอกด้านข้างศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง และจัดสวนพร้อมเครื่องออกกำลังกาย
ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
ปัจจุบันศาลหลักเมืองอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี
ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

เมืองอุทัยธานีมีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรยืนยันไว้ว่า เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว โดยพบหลักฐานยืนยันในหลายพื้นที่ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวด ภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนหน้าผา (เขาปลาร้า) เป็นต้น

         ตำนานเก่าเล่าว่า ในสมัยกรุงสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองนั้น ท้าวมหาพรหมได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า คือ อำเภอหนองฉางในปัจจุบันนี้ แล้วพาคนไทยเข้ามาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านคนมอญและคนกะเหรี่ยง จึงเรียกว่า "เมืองอู่ไทย" ตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทยซึ่งพากันตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น มีพืชพันธุ์และอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าแห่งอื่น ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินและเกิดกันดารน้ำ เมืองอู่ไทยจึงถูกทิ้งร้าง จนในที่สุด พะตะเบิดได้เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทย โดยขุดที่เก็บกักน้ำไว้ใกล้เมือง และพะตะเบิดได้เป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยเป็นคนแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา

เมืองอู่ไทยต่อมาได้เรียกกันเป็น "เมืองอุไทย" คาดว่าเพี้ยนไปตามสำเนียงชาวพื้นเมืองเดิม ได้มีฐานะเป็นหัวเมืองด่านชั้นนอก มีพระพลสงครามเป็นนายด่านแม่กลอง และพระอินทรเดชเป็นนายด่านหนองหลวง (ปัจจุบันแม่กลองคืออำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และหนองหลวงคือตำบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง) คอยดูแลพม่าที่จะยกทัพมาตามเส้นทางชายแดนด่านแม่ละเมา

ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พุทธศักราช ๒๑๔๘-๒๑๖๓) ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติอำนาจการใช้ตราประจำตำแหน่งมีบัญชาการตามหัวเมืองนั้น ได้ระบุในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญว่า "เมืองอุไทยธานี เป็นหัวเมืองขึ้นแก่มหาดไทย"

เมืองอุไทยธานีเป็นเมืองที่อยู่บนที่ดอนและลึกเข้าไป ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่และไม่สามารถติดต่อทางเรือได้ ดังนั้นชาวเมืองจึงต้องขนข้าวบรรทุกเกวียนมาลงที่แม่น้ำ จึงทำให้พ่อค้าพากันไปตั้งยุ้งฉางรับซื้อข้าวที่ริมแม่น้ำจนเป็นหมู่บ้านใหญ่ เรียกว่าหมู่บ้าน "สะแกกรัง" เนื่องจากเป็นพื้นที่มีป่าสะแกขึ้นเต็มริมน้ำและมีต้นสะแกใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน บ้านสะแกกรัง ชาวจีนเรียกเพี้ยนเป็น "ซิเกี๋ยกั้ง" เป็นตลาดซื้อข้าวที่มีพ่อค้าคนจีนนิยมไปตั้งบ้านเรือนและยุ้งฉาง ต่อมาในระยะหลังได้มีเจ้านายและขุนนางมาตั้งบ้านเรือนอยู่ เพราะความสะดวกในการกะเกณฑ์สิ่งของส่งเมืองหลวงซึ่งเป็นจำพวกมูลค้างคาว ไม้ซุง กระวาน และช้างป่า อีกทั้งยังมีช่องทางในการค้าข้าวอีกด้วย

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ พระยาราชนกุล (ทองคำ) ปลัดทูลฉลองมหาดไทยได้ย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรัง มีบุตรชายคนโตชื่อ "ทองดี" เกิดที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี เมื่อเติบโตได้ติดตามบิดาและเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยา ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระพินิจอักษร (ทองคำ) และพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ตำแหน่งเสมียนตรากรมมหาดไทยตามลำดับ ต่อมาพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ได้แต่งงานกับสตรีงามชื่อ "หยก" มีบุตรธิดา ๕ คน บุตรชายคนที่ ๔ ชื่อ "ทองด้วง" ภายหลังได้สถาปนาเป็น "พระเจ้าแผ่นดิน" หรือ พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) และบุตรชายคนที่ ๕ ขื่อ "บุญมา" ต่อมาได้เป็น "สมเด็จกรมพระยาบวรมหาสุรสิงหนาท"

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ได้ทรงสถาปนาราชวงค์จักรีและสถาปนาพระอัฐิของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ผู้เป็นพระบิดาขึ้นเป็น "พระปฐมบรมมหาชนก" และถวายพระเพลิงในปีพุทธศักราช ๒๓๓๘

อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี


นับได้ว่าบ้านสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นปิตุภูมิของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของ พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งราชวงศ์จักรี 
จังหวัดอุทัยธานี จึงได้สร้างพระบรมรูปพระปฐมบรมมหาชนกเป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าองค์จริง ประทับในพลับพลาจตุรมุข ซึ่งออกแบบโดยกรมศิลปากร ประดิษฐานไว้อยู่บนยอดเขาสะแกกรัง หน้าบรรณศาลาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ตราจักรีประดับโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙)  และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระวิสูตรพระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ด้วยความจงรักภักดีต่อราชวงค์จักรีเป็นที่สุด และทุก ๆ ปี จะมีพิธีถวายราชสักการะ "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก" เพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงค์จักรี ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเปี่ยมล้น สร้างคุณประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติและจังหวัดอุทัยธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น