สารบัญศาลหลักเมือง

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ (พระประแดง) Samutprakan (Phra Pradaeng) City Pillar Shrine

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ (พระประแดง)
ณ วันพุธที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ (พระประแดง)  Samutprakan (Phra Pradaeng) City Pillar Shrine


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ (พระประแดง)  Samutprakan (Phra Pradaeng) City Pillar Shrine
บนยอดเสาหลักเมืองมีองค์พระพิฆเนศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

              ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : เทศบาลเมืองพระประแดง  ถนนนครเขื่อนขันธ์- พระประแดง ตำบลตลาด  อำเภอพระประแดง  จังหวัดสมุทรปราการ  ติดกับที่ว่าการอำเภอพระประแดง

               ศาลหลักเมืองแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๕๘ เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองพระประแดงเคารพนับถือมาก และได้รับการยกย่องว่าเป็นศาลหลักเมืองหนึ่งเดียวที่มีองค์พระพิฆเนศที่เก่าแก่มากที่สุดในประเทศไทย

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ (พระประแดง)  Samutprakan (Phra Pradaeng) City Pillar Shrine

                 ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ (พระประแดง)  Samutprakan (Phra Pradaeng) City Pillar Shrine เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในสมัยเมื่ออำเภอนี้ยังมีฐานะเป็นเมืองอยู่ ศาลหลักเมืองพระประแดง (สมุทรปราการ) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพระประแดง  มาตั้งแต่เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์  ขึ้นเมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ ปีกุล สัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๕๘ โดยทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง และอัญเชิญองค์พระพิฆเนศมาประดิษฐานบนยอดเสาหลักเมือง พร้อมทั้งสร้างศาลประจำเมืองขึ้นตามโบราณราชประเพณี โดยมีลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบจีน
องค์พระพิฆเนศประดิษฐานบนเสาหลักเมือง
องค์พระพิฆเนศ ประดิษฐานบนยอดเสาหลักเมือง

                ภายในศาลหลักเมืองจะมีรูปหล่อองค์พระพิฆเนศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกแบบไทย มีลักษณะเป็นพระพิฆเนศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม ทรงประทับนั่งบนฐานบัวหงาย และมีความงดงามแบบเรียบง่าย เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลายเครื่องประดับใดๆ เลย และเราจะไม่เห็นเสาหลักเมือง เพราะเนื่องมาจากตัวเสาหลักเมืองนั้น จะอยู่ที่ใต้ฐานขององค์พระพิฆเนศ (เจ้าพ่อหลักเมือง) พอดี ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเสาก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสและทาด้วยสีแดง
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ (พระประแดง)  Samutprakan (Phra Pradaeng) City Pillar Shrine


                การสร้างหลักเมืองขึ้นโดยยึดถือเอาตามแบบศาสนาพราหมณ์ โดยมีเมืองเล็กๆ หลายๆ เมืองรวมกันเป็นเมืองใหญ่ อย่างเช่น หลักเมืองที่มีความเก่าแก่ที่สุดของสยามประเทศ นี้คือ หลักเมืองศรีเทพ (จังหวัดเพชรบูรณ์) สร้างด้วยศิลาหินทราย, หลักเมืองกรุงเทพมหานคร สร้างด้วยไม้มงคล (แกนไม้สัก-ประกบด้านนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์) 
        หลักเมืองเก่าพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) หรือบางคนเรียกว่า "ศาลหลักเมืองนครเขื่อนขันธ์" หรือ "ศาลหลักเมืองปากลัด" สร้างด้วยเสาก่ออิฐถือปูนโบราณ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญอีกแห่งหนึ่งที่มีชาวเมืองเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เสาหลักเมืองพระประแดง (สมุทรปราการ) มีความพิเศษคือมีเทวรูปของพระพิฆเนศ สถิตย์อยู่บนยอดเสาหลักเมือง เป็นประเพณีในลัทธิพราหมณ์ ประเทศอินเดีย 

เทวรูปของพระพิฆเนศ สถิตย์อยู่บนยอดเสาหลักเมือง เป็นประเพณีในลัทธิพราหมณ์มาแต่สมัยประเทศอินเดีย

เทวรูปของพระพิฆเนศ สถิตย์อยู่บนยอดเสาหลักเมือง เป็นประเพณีในลัทธิพราหมณ์มาแต่สมัยประเทศอินเดีย

                  ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงนั้น มีขึ้นเมื่อในอดีต ตอนยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤตต่างๆ พวกชาวบ้าน พ่อค้าแม่ค้า ก็มักจะไปกราบไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง(พระพิฆเนศ) เพื่อที่จะขอพรอยู่เสมอ  ในเขตบริเวณตลาดพระประแดง (สมุทรปราการ) นั้น มีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ร้านค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นของชาวจีน ส่วนพื้นที่บริเวณโดยรอบๆ ก็จะมีชนชาวมอญหรือที่เรียกว่าชาวรามัญ จะอาศัยกระจายอยู่ทั่วไปปะปนกับคนไทย สภาพศาลหลักเมืองพระประแดงจึงมีการก่อสร้างและบรรยากาศเป็นศาลเจ้าหรือศาลเจ้าจีน ศาลหลักเมืองพระประแดง (สมุทรปราการ) ได้มีการปรับปรุงบูรณะขึ้นหลายครั้งด้วยความร่วมมือร่วมแรงของชาวพระประแดง แทบไม่เห็นเค้าโครงเดิมของศาลหลักเมืองแต่ก็ยังคงความสวยงามจนถึงปัจจุบันแห่งเมืองนครเขื่อนขันธ์ อันเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย  (รัชกาลที่ ๒)
                  และก็ยังมีอีกความเชื่อหนึ่งว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนั้น ยังช่วยให้ชาวพระประแดงรอดพ้นจากสงครามโลกมาได้ เนื่องมาจากเมื่อญี่ปุ่นได้แพ้สงครามแล้วได้มาหลบพักในบริเวณท่าน้ำฯ ทางฝรั่งเศสจะนำระเบิดมาทิ้งบอมในบริเวณจุดที่ทหารญี่ปุ่นมาพักหลบอยู่ แต่ด้วยเนื่องจากคนในระแวกนั้นทั้งหมดได้ไปไหว้ขอพรจากองค์เจ้าพ่อในศาลหลักเมือง ให้เมืองแห่งนี้รอดพ้นจากระเบิดในครั้งนี้ และด้วยความเชื่อที่ว่าองค์เจ้าพ่อท่านได้ปัดระเบิดของทางฝรั่งเศสที่จะมาบอม ให้เลยไปตกลงในจุดที่เป็นป่าไผ่ (บริเวณวัดกลาง) แทน จึงทำให้คนแถวนี้เชื่อว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ขององค์เจ้าพ่อหลักเมืองนั่นเอง

ซุ้มประตูทางเข้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง (สมุทรปราการ) ที่สร้างฉลองครบรอบ ๒๐๐ ปีเมืองนครเขื่อนขันธ์ และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระชนมพรรษาครบ ๘๘ พรรษา
ซุ้มประตูทางเข้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง (สมุทรปราการ)
ที่สร้างฉลองครบรอบ ๒๐๐ ปีเมืองนครเขื่อนขันธ์
และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร
(รัชกาลที่ ๙) มีพระชนมพรรษาครบ ๘๘ พรรษา


ประตูทางเข้าหน้าศาลหลักเมืองทางทิศตะวันตก มีท้าวเวสสุวรรณและท้าววิรุฬปักษ์ คุ้มครองรักษา
ประตูทางเข้าหน้าศาลหลักเมืองทางทิศตะวันตก
มีท้าวเวสสุวรรณและท้าววิรุฬปักษ์ คุ้มครองรักษา
ประตูทางเข้าศาลหลักเมืองทางทิศตะวันออก พระอินทร์ คุ้มครองรักษา
ประตูทางเข้าศาลหลักเมืองทางทิศตะวันออก
พระอินทร์ คุ้มครองรักษา
ประตูทางเข้าศาลหลักเมืองทางทิศตะวันออก พระแม่ธรณี คุ้มครองรักษา
ประตูทางเข้าศาลหลักเมืองทางทิศตะวันออก
พระแม่ธรณี คุ้มครองรักษา
ซุ้มพระพิฆเนศองค์จำลอง และหลวงพ่อโสธร
ซุ้มพระพิฆเนศองค์จำลอง และหลวงพ่อโสธร
องค์พระพรหม ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง
เทวรูปองค์ท้าวมหาพรหม ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง
องค์จตุคามรามเทพ ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง
องค์จตุคามรามเทพ
พระสยามเทวาธิราช, พระปิยมหาราช (รัชกาลที่ ๕)
ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง
องค์เทวรูปมหาเทพ ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง
องค์เทวรูปมหาเทพ ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง
องค์พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง
องค์พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม (พระแม่กวนอิมพันมือ) 
ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง
องค์พระแม่ลักษมี-องค์พระสรัสวดี ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง
องค์พระแม่อุมาเทวี-องค์พระแม่ลักษมีเทวี-องค์พระแม่สรัสวตีเทวี
ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง
เกิดเรื่องน่าอัศจรรย์ ในช่วงเวลาระหว่างประกอบพิธีฝังหลักเมืองพระประแดงนั้น
ได้มีจระเข้ ๕ ตัว (พ่อแม่ลูก) ว่ายทวนแม่น้ำเจ้าพระยา
มายังบริเวณปริมณฑลพิธี แล้วขาดใจตายริมฝั่งแม่น้ำนั้น
ชาวบ้านทั้งหลายที่เห็นเหตุการณ์นี้จึงเชื่อว่า "จระเข้ทั้ง ๕ ตัว"
ยอมถวายชีวิตเพื่อบูชาหลักเมืองแห่งนี้ จึงได้ทำการตัดหัวจระเข้
แล้วนำขึ้นมาตั้งไว้บนศาลหลักเมืองพระประแดง
ซึ่งผู้ที่มากราบสักการะเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง
ก็จะมาปิดทองบูชาบนหัวจระเข้ทั้ง ๕ หัวนั้น
ปัจจุบันหัวจระเข้ก็ยังปรากฎอยู่ให้เห็นเป็นหลักฐาน

ต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง (สมุทรปราการ)
ต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง (สมุทรปราการ)

คุณสุพจน์  ลิขิตจิตถะ (ประธานศาลหลักเมืองพระประแดง)
คุณสุพจน์  ลิขิตจิตถะ
(ประธานศาลหลักเมืองพระประแดง-สมุทรปราการ)

ใบเซียมซี ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง (สมุทรปราการ)
ใบเซียมซี ภายในศาลหลักเมืองพระประแดง (สมุทรปราการ)

ที่ว่าการอำเภอพระประแดง
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : ติดกับที่ว่าการอำเภอพระประแดง
ในเขต
เทศบาลเมืองพระประแดง  ถนนนครเขื่อนขันธ์- พระประแดง
ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง  จังหวัดสมุทรปราการ  


ขอบคุณข้อมูลและภาพบางส่วนจาก : (เว็บ...ศรีจินดา)  'www.srichinda.com
ขอขอบพระคุณ : คุณสุพจน์  ลิขิตจิตถะ (ประธานศาลหลักเมือง)  
                        และคุณลุงใจดีผู้ดูแลศาลหลักเมือง ที่เมตตาให้คำบอกเล่า


1 ความคิดเห็น: