สารบัญศาลหลักเมือง

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี (Sing Buri City Pillar Shrine)

ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
ณ วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี (Sing Buri City Pillar Shrine)


ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี (Sing Buri City Pillar Shrine)

         ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ตำบลบางพุทรา อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

        
         ศาลหลักเมืองสิงห์บุรี ในสมัยโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยตลอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การสร้างเมืองใหม่จะต้องมีการสร้างศาลหลักเมืองและเสาหลักเมืองเสมอเป็นประเพณีสืบต่อกันมา โดยทำพิธีให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่บ้านเมืองที่สร้างขึ้น จะมีพิธีการสร้างและยกเสาหลักเมืองขึ้นในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ

ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี (Sing Buri City Pillar Shrine)

          ศาลหลักเมืองสิงห์บุรี  เป็นสถาปัตยกรรมไทย มณฑปจตุรมุขทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน  หลังคาทรงไทยเป็นชั้นลด ๒ ชั้น ทรงจั่ว ๔ ด้าน ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ที่หน้าบันของมุขทั้ง ๔ ด้าน สลักไม้ปิดทองประดับกระจกเป็นลวดลายดอกไม้ หลังคามุงกระเบื้องเกล็ด ชายคาหลังคาลาดลงมีโครงสร้างเป็นไม้ ส่วนของยอดปรางค์ประดับฝักเพกา ซ้อนกัน ๓ ชั้น และสวมปลายยอดด้วยฉัตรมงกุฎ ๗ ชั้น

    เสาหลักเมือง ทำมาจากไม้สักทอง นำมากลึงและแกะลวดลายตามแบบเสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตูม แล้วลงรักปิดทอง ซึ่งได้จัดพิธีตั้งขบวนแห่เสาหลักเมืองที่ทำเสร็จแล้วจากวัดพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี มาประดิษฐานไว้ ณ ศาลหลักเมืองสิงห์บุรี ขนาดของเสาหลักเมืองจากฐานเสาระดับพื้นอาคารศาลหลักเมืองสูง ๒.๗๐ เมตร ต้นเสาเป็นกลีบบัวโดยรอบสูง ๑๔ เซนติเมตร จากฐานที่ตั้งเสาถึงยอดกลีบบัวสูง ๓๓ เซนติเมตร ส่วนที่เป็นยอดเสาสูง ๖๘ เซนติเมตร ศาลหลักเมืองแห่งนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕

ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี (Sing Buri City Pillar Shrine)
ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี เป็นอาคารทรงไทยจตุรมุขสองชั้น
หลังคายอดปรางค์อยู่กลาง มีประตูสี่ทิศ ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส
บานประตูศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี ที่แกะสลักอย่างสวยงาม ด้วยความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตสิงห์บุรี
บานประตูศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี ที่แกะสลักอย่างสวยงาม
เสาหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
เสาหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี

เสาหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
เสาหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี

ใบเซียมซี ภายในศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
ใบเซียมซี ภายในศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
สิงห์ - ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
สิงห์ - ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
สิงห์ - ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
สิงห์ - ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี

          ภายในเขตบริเวณศาลหลักเมืองสิงห์บุรี มีสถานที่กว้างขวางซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญอย่างยิ่งของชาวจังหวัดสิงห์บุรี มีพระพุทธรูปประจำศาลหลักเมือง "พระพุทธมงคลนพรัชภัทรปฏิมากร" ประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันตกของศาลหลักเมือง และมีการสร้างพระประธานและรูปหล่อของเกจิอาจารย์ชื่อดังในจังหวัดสิงห์บุรีจำนวน ๙ องค์ ประดิษฐานอยู่ในศาลาเก้าสิงหเกจิอาจารย์ ซึ่งเปิดให้ประชาชนมานมัสการกราบไหว้ขอพร  สถานที่แห่งนี้จึงเป็นที่เคารพของชาวสิงห์บุรีและประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมาก

พระพุทธรูปประจำศาลหลักเมืองสิงห์บุรี "พระพุทธมงคลนพรัชภัทรปฏิมากร"
พระพุทธรูปประจำ ศาลหลักเมืองสิงห์บุรี
"พระพุทธมงคลนพรัชภัทรปฏิมากร"
            บริเวณเขตศาลหลักเมืองสิงห์บุรี มี "พระพุทธมงคลนพรัชภัทรปฏิมากร" 

(พระพุทธมหามงคลจัดสร้างในวโรกาสสมัยพิเศษ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งปวงประชาราษฏร) ขอถวายนามพระพุทธรูปประจำ ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ว่า "พระพุทธมงคลนพรัชภัทรปฏิมากร" เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร  มีความสูง ๓๖๙ เซนติเมตร  หล่อด้วยทองเหลืองรมดำ สีเม็ดมะปรางเข้ม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับประทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยจัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองสัมพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นสังฆราชานุสรณ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชนมายุ ๙๙ พรรษา ในวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นมหาราชานุสรณ์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) และยังความเจริญรุ่งเรืองแห่งปวงประชาราษฎร ซึ่งจารึกไว้ ณ วันประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และเททองหล่อ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเททองหล่อพระประธาน และ ๙ พระเกจิอาจารย์สิงห์บุรี
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเททองหล่อพระประธาน
และ ๙ พระเกจิอาจารย์สิงห์บุรี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เวลา ๑๕.๐๙ นาฬิกา

ศาลาเก้าสิงหเกจิอาจารย์ จังหวัดสิงห์บุรี
ศาลาเก้าสิงหเกจิอาจารย์ จังหวัดสิงห์บุรี
อยู่บริเวณด้านทิศตะวันตกของศาลหลักเมือง
พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร)
เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานพิธีเปิดอาคาร
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เวลา ๐๙.๐๙ นาฬิกา
* * *
พระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ฐิตธมฺโม)
เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
* * *
พระเมธีปริยัตโยดม (ยงยุทธ ยุตฺตธมฺโม)
เจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี เจ้าอาวาสวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร
เป็นรองประธานฝ่ายสงฆ์
* * *
พระครูปริยัติธีราภรณ์ (ประจวบ สุธีโร)
เจ้าคณะอำเภอค่ายบางระจัน เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง
เป็นประธานดำเนินการก่อสร้าง
* * *
นายพยูณ  มีทองคำ  ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี
เป็นผู้ริเริ่มและประสานงาน ประธานอำนวยการ และผู้วางศิลาฤกษ์
เมื่อวันพุธที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เวลา ๐๙.๐๙ นาฬิกา
(ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะโรง)
๙ เกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสิงห์บุรี
ภายในศาลาเก้าสิงหเกจิอาจารย์ จังหวัดสิงห์บุรี

ภายในศาลาเก้าสิงหเกจิอาจารย์ จังหวัดสิงห์บุรี
เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน พระพุทธรูปปางนาคปรก สมัยลพบุรี  
พระประธาน พระพุทธรูปปางนาคปรก สมัยลพบุรี
พระประธาน พระพุทธรูปปางนาคปรก สมัยลพบุรี

และ ๙ เกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสิงห์บุรี มีดังนี้
         ๑. พระอาจารย์ธรรมโชติ (ธรรมโชติรังษี)  
              วัดโพธิ์เก้าต้น ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน  
              ชาตะ พ.ศ. ๒๒๔๓   มรณะ พ.ศ. ๒๓๒๕
          ๒. พระครูศรีวิริยะโสภิต  (หลวงพ่อศรี เกสะโร)  
              วัดพระปรางค์ ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน  
              ชาตะ พ.ศ. ๒๔๐๘   มรณะ พ.ศ. ๒๔๘๐
          ๓. หลวงพ่อวอน  
              วัดโพธิ์แก้วนพคุณ ตำบลบางพุทรา อำเภอเมืองสิงห์บุรี  
              ชาตะ พ.ศ. ๒๔๒๑   มรณะ พ.ศ. ๒๔๙๓
          ๔. พระครูสิงหราชมุณีวรนายก (หลวงพ่อพูน สาคโร)  
              วัดสังฆราชาวาส ตำบลบางมัญ อำเภอเมืองสิงห์บุรี  
              ชาตะ พ.ศ. ๒๔๑๙   มรณะ พ.ศ. ๒๔๘๕
          ๕. พระครูอินทรคณานุสิชนฌ์ (หลวงปู่เจ็ก อาจารสุโภ)  
              วัดระนาม ตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี
              ชาตะ พ.ศ. ๒๔๔๐   มรณะ พ.ศ. ๒๕๓๘
          ๖. หลวงปู่บุดดา ถาวโร 
              วัดกลางชูศรีเจริญสุข ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน  
              ชาตะ พ.ศ. ๒๔๓๖   มรณะ พ.ศ. ๒๕๓๗
          ๗. หลวงพ่อชวง อภโย  
              วัดชีปะขาว ตำบลพระงาม อำเภอพรหมบุรี  
              ชาตะ พ.ศ. ๒๔๔๑   มรณะ พ.ศ. ๒๕๑๐
          ๘. พระธรรมมุนี (หลวงพ่อแพ เขมังกโร)  
              วัดพิกุลทอง ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง  
              ชาตะ พ.ศ. ๒๔๔๘   มรณะ พ.ศ. ๒๕๔๒
          ๙. พระครูสุจิตตานุรักษ์  (หลวงพ่อจวน สุจิตโต)  
              วัดหนองสุ่ม ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี  
              ชาตะ พ.ศ. ๒๔๕๗   มรณะ พ.ศ. ๒๕๓๖



ศาลหลักเมืองจังหวัดสิงห์บุรี (Sing Buri City Pillar Shrine)
ศาลหลักเมืองสิงห์บุรี
ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ตำบลบางพุทรา อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี


วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี (Uthai Thani City Pillar Shrine)

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
ณ วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)

ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน  หลังคาเป็นยอดปรางค์ เสาหลักเมืองทำจากไม้มงคล

      สำหรับเสาหลักเมืองอุทัยธานี ตามตำนานกล่าวไว้ว่า สมัยก่อนไม่มีใครสนใจเรื่องเสาหลักเมือง จนกระทั่งมีคนกรุงเทพฯ เดินทางมาที่วัดหัวเมือง อำเภอหนองฉาง แล้วเล่าว่ามีคนไปเข้าฝันว่าเสาหลักเมืองอุทัยธานีเก่าอยู่ตรงไหน ให้จัดการตั้งเสาให้เรียบร้อย แล้วคนกรุงเทพฯ ก็เดินไปชี้จุดที่อยู่ของเสาที่รู้จากความฝัน อยู่บริเวณข้างวัดหัวเมืองทางทิศตะวันออก พบว่าเป็นเสาไม้แก่นไม้แต้ ซึ่งเดิมไม่มีผู้ใดสนใจ และนำไม้แก่นไปทำฟืนเหลืออยู่เพียงซีกเดียว จึงได้ทำพิธีย้ายเสาหลักเมืองมาไว้ข้างวัดหัวเมือง แล้วสร้างศาลาคลุมเสาหลักเมืองเอาไว้
      
ส่วนในตัวเมืองอุทัยธานีนั้น แต่เดิมไม่มีศาลหลักเมือง  ต่อมาจึงได้มีการสร้างศาลหลักเมืองขึ้นที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุทัยธานีในปัจจุบัน  โดยศาลหลักเมืองนี้ได้สร้างในสมัย นายสุดจิต  นิมิตกุล  เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีในสมัยนั้น  เหตุที่สร้างเสาหลักเมืองแห่งนี้  เนื่องจากแต่เดิมเมืองอุทัยธานี  มีเสาหลักเมืองเก่าอยู่ที่ ตำบลอุทัยเก่า  อำเภอหนองฉาง ในปัจจุบัน  ผู้คนที่มาสักการะศาลหลักเมืองที่นี่นอกจากจะได้รับความเป็นสิริมงคลแล้ว ก็ยังได้ชมความงดงามของแม่น้ำสะแกกรังที่อยู่ด้านหลังศาลหลักเมืองอีกด้วย 

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)
บริเวณด้านหน้าศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี

เสาหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
ภายในศาลหลักเมือง เป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
ที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม
เสาหลักเมือง องค์ศรีอุทัยเทวา ที่ปกปักษ์รักษาคุ้มครอง
เสาหลักเมืองจำลองบริเวณศาลาด้านนอกศาลหลักเมือง
องค์ศรีอุทัยเทวา ที่ปกปักษ์รักษาคุ้มครอง
พระสยามเทวาธิราช ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
องค์พระสยามเทวาธิราช บริเวณศาลาข้างศาลหลักเมือง 
พระพุทธรูปจำลอง ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
องค์พระพุทธรูปจำลอง บริเวณศาลาข้างศาลหลักเมือง
องค์จำลองหลวงปู่ทวดบริเวณศาลาข้างศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)
บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี

ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)
บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี  (Uthai Thani City Pillar Shrine)
บริเวณภายนอกศาลหลักเมือง
และศาลาเสาหลักเมืองจำลองจังหวัดอุทัยธานี
ตุ๊กตาปูนปั้นช้างม้าที่มีบุคคลนำมาถวาย บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
ตุ๊กตาปูนปั้นช้างม้าที่มีบุคคลนำมาถวาย
บริเวณภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
บริเวณภายนอกด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง
บริเวณภายนอกด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง

บริเวณภายนอกด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง
บริเวณภายนอกด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง
บริเวณภายนอกด้านข้างศาลหลักเมืองจังหวัดอุทัยธานี
จะอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกกรัง และจัดสวนพร้อมเครื่องออกกำลังกาย
ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
ปัจจุบันศาลหลักเมืองอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี
ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

เมืองอุทัยธานีมีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรยืนยันไว้ว่า เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว โดยพบหลักฐานยืนยันในหลายพื้นที่ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวด ภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนหน้าผา (เขาปลาร้า) เป็นต้น

         ตำนานเก่าเล่าว่า ในสมัยกรุงสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองนั้น ท้าวมหาพรหมได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้านอุทัยเก่า คือ อำเภอหนองฉางในปัจจุบันนี้ แล้วพาคนไทยเข้ามาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านคนมอญและคนกะเหรี่ยง จึงเรียกว่า "เมืองอู่ไทย" ตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทยซึ่งพากันตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น มีพืชพันธุ์และอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าแห่งอื่น ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินและเกิดกันดารน้ำ เมืองอู่ไทยจึงถูกทิ้งร้าง จนในที่สุด พะตะเบิดได้เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทย โดยขุดที่เก็บกักน้ำไว้ใกล้เมือง และพะตะเบิดได้เป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยเป็นคนแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา

เมืองอู่ไทยต่อมาได้เรียกกันเป็น "เมืองอุไทย" คาดว่าเพี้ยนไปตามสำเนียงชาวพื้นเมืองเดิม ได้มีฐานะเป็นหัวเมืองด่านชั้นนอก มีพระพลสงครามเป็นนายด่านแม่กลอง และพระอินทรเดชเป็นนายด่านหนองหลวง (ปัจจุบันแม่กลองคืออำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และหนองหลวงคือตำบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง) คอยดูแลพม่าที่จะยกทัพมาตามเส้นทางชายแดนด่านแม่ละเมา

ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พุทธศักราช ๒๑๔๘-๒๑๖๓) ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติอำนาจการใช้ตราประจำตำแหน่งมีบัญชาการตามหัวเมืองนั้น ได้ระบุในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญว่า "เมืองอุไทยธานี เป็นหัวเมืองขึ้นแก่มหาดไทย"

เมืองอุไทยธานีเป็นเมืองที่อยู่บนที่ดอนและลึกเข้าไป ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่และไม่สามารถติดต่อทางเรือได้ ดังนั้นชาวเมืองจึงต้องขนข้าวบรรทุกเกวียนมาลงที่แม่น้ำ จึงทำให้พ่อค้าพากันไปตั้งยุ้งฉางรับซื้อข้าวที่ริมแม่น้ำจนเป็นหมู่บ้านใหญ่ เรียกว่าหมู่บ้าน "สะแกกรัง" เนื่องจากเป็นพื้นที่มีป่าสะแกขึ้นเต็มริมน้ำและมีต้นสะแกใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน บ้านสะแกกรัง ชาวจีนเรียกเพี้ยนเป็น "ซิเกี๋ยกั้ง" เป็นตลาดซื้อข้าวที่มีพ่อค้าคนจีนนิยมไปตั้งบ้านเรือนและยุ้งฉาง ต่อมาในระยะหลังได้มีเจ้านายและขุนนางมาตั้งบ้านเรือนอยู่ เพราะความสะดวกในการกะเกณฑ์สิ่งของส่งเมืองหลวงซึ่งเป็นจำพวกมูลค้างคาว ไม้ซุง กระวาน และช้างป่า อีกทั้งยังมีช่องทางในการค้าข้าวอีกด้วย

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ พระยาราชนกุล (ทองคำ) ปลัดทูลฉลองมหาดไทยได้ย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรัง มีบุตรชายคนโตชื่อ "ทองดี" เกิดที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี เมื่อเติบโตได้ติดตามบิดาและเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยา ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระพินิจอักษร (ทองคำ) และพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ตำแหน่งเสมียนตรากรมมหาดไทยตามลำดับ ต่อมาพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ได้แต่งงานกับสตรีงามชื่อ "หยก" มีบุตรธิดา ๕ คน บุตรชายคนที่ ๔ ชื่อ "ทองด้วง" ภายหลังได้สถาปนาเป็น "พระเจ้าแผ่นดิน" หรือ พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) และบุตรชายคนที่ ๕ ขื่อ "บุญมา" ต่อมาได้เป็น "สมเด็จกรมพระยาบวรมหาสุรสิงหนาท"

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ได้ทรงสถาปนาราชวงค์จักรีและสถาปนาพระอัฐิของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ผู้เป็นพระบิดาขึ้นเป็น "พระปฐมบรมมหาชนก" และถวายพระเพลิงในปีพุทธศักราช ๒๓๓๘

อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี


นับได้ว่าบ้านสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นปิตุภูมิของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของ พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) แห่งราชวงศ์จักรี 
จังหวัดอุทัยธานี จึงได้สร้างพระบรมรูปพระปฐมบรมมหาชนกเป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าองค์จริง ประทับในพลับพลาจตุรมุข ซึ่งออกแบบโดยกรมศิลปากร ประดิษฐานไว้อยู่บนยอดเขาสะแกกรัง หน้าบรรณศาลาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ตราจักรีประดับโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙)  และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระวิสูตรพระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ด้วยความจงรักภักดีต่อราชวงค์จักรีเป็นที่สุด และทุก ๆ ปี จะมีพิธีถวายราชสักการะ "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก" เพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงค์จักรี ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเปี่ยมล้น สร้างคุณประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติและจังหวัดอุทัยธานี

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา (Phayao City Pillar Shrine)

ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา
ณ วันพุธที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ 
ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา  (Phayao City Pillar Shrine)

ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา (Phayao City Pillar Shrine)
           ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : ริมถนนท่ากว๊าน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

              ศาลหลักเมืองพะเยา เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน  หลังคาเป็นยอดปราสาท ลักษณะหลังคาซ้อนสองชั้น เสาหลักเมืองทำจากไม้มงคล ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตูม 

              ศาลหลักเมืองพะเยา หรือ เสาหลักเมืองจังหวัดพะเยา เดิมพะเยา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย และได้รับการยกฐานะขึ้นมาเป็นจังหวัด เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่บ้านเมือง จึงได้สร้างศาลหลักเมืองขึ้นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช  ๒๕๒๐  แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการก่อสร้าง  และต้องย้ายสถานที่สร้างศาลหลักเมืองหลายครั้ง ผ่านมาเกือบ ๙ ปี ได้มีการดำเนินการก่อสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยาอีกครั้งในปี พุทธศักราช ๒๕๒๘  โดยหลวงพ่อไพบูลย์  สุมังคโล  (เจ้าอาวาสวัดอนาลโยทิพยาราม) ซึ่งสร้างแล้วเสร็จในปี พุทธศักราช ๒๕๓๐

            และในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙)  ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมยอดองค์หลักเมือง  ในวันพุธที่ ๒๗  มกราคม  พุทธศักราช ๒๕๓๑  ณ พระราชวังจิตรลดารโหฐาน  และในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดศาลหลักเมืองศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา  อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ ๒๐  มีนาคม  พุทธศักราช ๒๕๓๕

              โดยผู้รับผิดชอบโครงการนี้คือ นายสุดจิตร์  คอวนิช  ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา และผู้ออกแบบคือ รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี  และผู้ดำเนินการก่อสร้างคือ นายวีระยุทธ  คงพิบูลย์กิจ       

               ปัจจุบัน ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ที่ริมถนนท่ากว๊าน มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน อยู่ใกล้กันกับวัดศรีอุโมงค์คำ และอีกด้านเป็นวัดราชคฤห์ จากถนนประตูชัยเลี้ยวซ้ายไปจรดถนนท่ากว๊าน แต่คงอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา  (Phayao City Pillar Shrine)
ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา

เสาหลักเมืองจังหวัดพะเยา
เสาหลักเมืองจังหวัดพะเยา

ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา  (Phayao City Pillar Shrine)
ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยาภายนอกที่สวยงามทั้งสี่ทิศ

ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา  (Phayao City Pillar Shrine)
ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยาภายนอกที่สวยงามทั้งสี่ทิศ

ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา  (Phayao City Pillar Shrine)
ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยาภายนอกที่สวยงามทั้งสี่ทิศ

ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา  (Phayao City Pillar Shrine)
ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยาภายนอกที่สวยงามทั้งสี่ทิศ
ข้อปฏิบัติในการบูชาศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา
ภายในศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา
มีป้ายที่ทางคณะกรรมการผู้ดูแลศาลหลักเมือง

เขียนอธิบายขอความร่วมมือในการบูชาศาลหลักเมืองไว้
เพื่อความเป็นระเบียบและเรียบร้อยสวยงาม

การสักการะศาลหลักเมืองทั้ง ๔ ทิศ
การสักการะศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยาทั้ง ๔ ทิศ
ผู้มากราบสักการะปรารถนาสิ่งใดก็กราบตามทิศนั้น
อนึ่ง คำอธิษฐานจะสำเร็จได้
ผู้ที่ขอก็ต้องประพฤติตัวเองให้อยู่ในศีล ๕ อย่างเคร่งครัด
และมีความพากเพียร พยายาม กระทำตนในสิ่งที่ดีงาม
รักษาไว้ซึ่งสัจจะวาจาที่ให้ไว้
ตู้เก็บของสักการะ ในศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา
ของที่ระลึกที่ผู้มากราบสักการะนำมาถวายไว้ใน
ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา

ตู้เก็บของสักการะ ในศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา
ของที่ระลึกที่ผู้มากราบสักการะนำมาถวายไว้ใน
ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา
เหรียญที่ระลึก ๙ รัชกาลในศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา
เหรียญที่ระลึก ๙ รัชกาลในศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา


เซียมซี ในศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา
ตารางเซียมซี (ตาตะรางเซียมซี)
ในศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา
จะเป็นช่องหมายเลขสำหรับจะเสี่ยงเซียมซี
เมื่อท่านอธิษฐานเสร็จแล้วขอให้หลับตาเสียก่อน
แล้วเอาไม้ก้านธูปจี้ลงไปตรงตาตะรางเลข
ณ ช่องใดช่องหนึ่ง ตามบุญกรรมของเรา
เมื่อตรงกับเลขช่องใด ก็อ่านคำทำนายในเซียมซีให้ตรงกับเลขนั้นเถิด
(คำนายจาก : หลวงพ่อพระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา) 

เซียมซี ในศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา
เลขคำทำนายในเซียมซี 
(คำนายจาก : หลวงพ่อพระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา)
ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา  (Phayao City Pillar Shrine)
ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา 
ริมถนนท่ากว๊าน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา