สารบัญศาลหลักเมือง

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)

เสาสะดือเมืองเชียงราย

ณ วันพุธที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙


เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
เสาสะดือเมืองเชียงราย (เสาหลักเมือง) (Chiang Rai City Navel Pillar)
            ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ : วัดพระธาตุดอยจอมทอง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

            เสาสะดือเมืองเชียงราย (เสาหลักเมือง) เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของการก่อตั้งชุมชนและเมือง สำหรับจังหวัดเชียงรายจะเรียกเสาหลักเมืองว่า เสาสะดือเมือง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า เมื่อครั้งการสร้างเมืองครั้งแรกใช้คำว่า "เสาสะดือเมือง" ไม่ใช้คำว่า เสาหลักเมือง

           เสาสะดือเมืองเชียงรายแห่งนี้ สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๕๓๐ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา หรือ  ๕ รอบ และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังรายมหาราช ผู้ทรงสร้างเมืองเชียงราย เนื่องในวโรกาสการเฉลิมฉลองการสร้างเมืองเชียงรายครบ ๗๒๕ ปี โดยนายอร่าม เอี่ยมอรุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นได้เป็นแม่งานร่วมกับหน่วยงานราชการ เช่น สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์กรภาคประชาชน ภาคเอกชน และรัฐบาลเยอรมัน

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)

           ลักษณะของเสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างขึ้นโดยยึดตามรูปแบบเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อ  ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย  ซึ่งปกติเสาใจกลางบ้านของชาวไทลื้อจะสร้างด้วยไม้ แต่เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน ซึ่งสร้างจากหินชั้นดีจากจังหวัดตาก ทั้งนี้เพื่อความคงทนถาวร โดยบริเวณที่ตั้งเสาสะดือเมืองแห่งนี้เรียกว่า ดอยจอมทองซึ่งตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า พญามังรายได้เสด็จมาหาตามช้างของพระองค์ซึ่งหนีเตลิดมา เมื่อพระองค์ได้ทรงพบว่า  สถานที่แห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสมในการสร้างบ้านเมือง จึงโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายขึ้น

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)

            เสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างในรูปแบบศิลปะขอม  แบบพนมบาแกง โดยยึดตามรูปแบบสมมติของจักรวาล หันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก บริเวณด้านนอกสุดเป็นคูน้ำเหมือนในจักรวาล  ลานดินถัดจากคูน้ำหมายถึงแผ่นดิน  ลานด้านในยกเป็นชั้น ๆ จำนวน  ๖  ชั้น เปรียบเสมือนสวรรค์ทั้ง  ๖  ชั้น ในกามภูมิ ประกอบด้วยชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามะ ดุสิต นิมมานรตี และปรนิมมิตสวัตตี ตามลำดับ โดยแต่ละชั้นจะมีร่องน้ำคั่นกลาง เหมือนปัญจมหานที ได้แก่ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ ไหลลดหลั่นกันลงสู่พื้นดิน  ชั้นในสุดยกเป็น ๓ ชั้น หมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และนิพพาน ตัวเสาสะดือเมือง ตั้งโดดเด่นดั่งเขาพระสุเมรุอยู่บนฐานสามเหลี่ยมยกพื้นสูง ซึ่งเปรียบเสมือนตรีกูฏบรรพต หรือผา ๓ เส้า มีเสาบริวารล้อมรอบจำนวน ๑๐๘ ต้น 
              โดยตัวเสาสะดือเมืองมีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณที่จะต้องสร้างเสาสะดือเมืองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์ และมีความสูงเท่ากับส่วนสูงของพระวรกายของพระมหากษัตริย์

               เสาสะดือเมืองเชียงรายและเสาบริวารแกะสลักจากหิน โดยฝีมือของนายสิงห์คำ สมเครือ ช่างฝีมือชาวพะเยา ปัจจุบันเสาสะดือเมืองเชียงราย นอกจากเป็นสถานที่รำลึกถึงการสร้างเมืองเชียงรายแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย


                 บริเวณข้างเสาสะดือเมืองเชียงราย เป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุดอยจอมทอง
และเชิงบันไดทางขึ้นไปสู่เสาสะดือเมืองด้านขวามือ มีสิ่งก่อสร้างขนาดย่อมตั้งอยู่ เรียกว่า กรุวัฒนธรรมเชียงรายซึ่งก่อสร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๔  เพื่อเก็บร่องรอยและหลักฐานทางวัฒนธรรมร่วมสมัยปัจจุบัน ซึ่งกรุวัฒนธรรมเชียงรายนี้จะทำการขุดขึ้นมาอีกครั้งเมื่อมีอายุครบ ๑๐๐ ปี หรือในวันที่ ๑๙  มกราคม พุทธศักราช ๒๖๔๔
กรุวัฒนธรรมเชียงราย
กรุวัฒนธรรมเชียงรายนี้จะทำการขุดขึ้นมาอีกครั้ง
เมื่อมีอายุครบ ๑๐๐ ปี
หรือในวันที่ ๑๙
  มกราคม พุทธศักราช ๒๖๔๔
 
ป้ายบอกทางไปเสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
ป้ายบอกทางไปเสาสะดือเมืองเชียงราย
ที่อยู่ในตัวเมืองจังหวัดเชียงราย

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
บันไดทางขึ้นทิศเหนือไปกราบสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย


เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
บันไดทางขึ้นทิศตะวันออกไปกราบสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย
จุดที่ตั้งสำหรับจุดธูปเทียนสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย
จุดธูปเทียนกราบสักการะเสาสะดือเมืองเชียงราย

เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน
เสาสะดือเมืองเชียงรายเป็นเสาหิน
สร้างจากหินชั้นดีจากจังหวัดตาก เพื่อความแข็งแรงคงทนถาวร 

เสาสะดือเมืองเชียงราย
เสาสะดือเมืองเชียงรายสร้างในรูปแบบศิลปะขอม  แบบพนมบาแกง

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
เสาสะดือเมืองเชียงราย : โดยตัวเสาสะดือเมือง
มีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์

ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙)
ซึ่งเป็นไปตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณ
ที่จะต้องสร้างเสาสะดือเมืองให้มีขนาดใหญ่เท่ากับ ๕ กำพระหัตถ์
และมีความสูงเท่ากับส่วนสูงของพระวรกายของพระมหากษัตริย์

เสาสะดือเมืองเชียงราย
เสาสะดือเมืองเชียงราย สร้างในรูปแบบศิลปะขอม  แบบพนมบาแกง
โดยยึดตามรูปแบบสมมติของจักรวาล หันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก
บริเวณด้านนอกสุดเป็นคูน้ำเหมือนในจักรวาล 
ลานดินถัดจากคูน้ำหมายถึงแผ่นดิน 
ลานด้านในยกเป็นชั้น ๆ จำนวน  ๖  ชั้น เปรียบเสมือนสวรรค์ทั้ง  ๖  ชั้น
โดยแต่ละชั้นจะมีร่องน้ำคั่นกลาง เหมือนปัญจมหานที
ไหลลดหลั่นกันลงสู่พื้นดิน 
ชั้นในสุดยกเป็น ๓ ชั้น หมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และนิพพาน
ตัวเสาสะดือเมือง ตั้งโดดเด่นดั่งเขาพระสุเมรุอยู่บนฐานสามเหลี่ยมยกพื้นสูง
ซึ่งเปรียบเสมือนตรีกูฏบรรพต หรือผา ๓ เส้า มีเสาบริวารล้อมรอบจำนวน ๑๐๘ ต้น

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
เสาสะดือเมืองเชียงราย

เสาสะดือเมืองเชียงราย (Chiang Rai City Navel Pillar)
เสาสะดือเมืองเชียงรายและเสาบริวารแกะสลักจากหิน
โดยฝีมือของนายสิงห์คำ สมเครือ ช่างฝีมือชาวพะเยา

หลักหินบอกเล่าเรื่องราวเสาสะดือเมืองเชียงราย
หลักหินอ่อนแกะสลักบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา
เสาสะดือเมืองเชียงราย

พระธาตุดอยจอมทอง จังหวัดเชียงราย
พระธาตุดอยจอมทอง จังหวัดเชียงราย
บริเวณทิศเหนือของเสาสะดือเมืองเชียงราย
กล่องร่วมทำบุญ วัดพระธาตุดอยจอมทอง จังหวัดเชียงราย
กล่องร่วมทำบุญสรงน้ำพระธาตุ และยกช่อฟ้า
วัดพระธาตุดอยจอมทอง จังหวัดเชียงราย
ในวันจันทร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙
เวลา ๐๙.๐๐ น.
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ (วันมาฆบูชา)

1 ความคิดเห็น:

  1. สวยงามมากได้ไปพบเห็นมาด้วยตนเองมานานแล้ว

    ตอบลบ