ศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์
ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ (วันวิสาขบูชา)
ศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์ (Nakhonsawan City Pillar Shrine)
ปัจจุบันตั้งอยู่ : ณ บริเวณเชิงเขากบ ตรงข้ามกับโรงเรียนนครสวรรค์ใกล้กับสำนักงานเทศบาลนครสวรรค์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
ศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์ เป็นสถาปัตยกรรมไทย มณฑปจตุรมุขทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่ออิฐฉาบปูนขาวแดง มีซุ้มประตูเข้า-ออก ๓ ด้าน ลักษณะหลังคาทรงไทยเป็นชั้นลด ๒ ชั้น ทรงจั่ว ๔ ด้าน ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หลังคามุงกระเบื้องเกล็ด เรือนยอดหลังคาเป็นแบบยอดปรางค์ ส่วนของยอดปรางค์ประดับฝักเพกา (ลำภุขัน) มีลักษณะคล้ายวชิราวุธอันเป็นอาวุธ ของพระอินทร์นำมาซ้อนกัน ๓ ชั้น
ภายในประดิษฐานเสาหลักเมือง
ซึ่งมีลักษณะเป็นเสากลม ทำจากไม้มงคลราชพฤกษ์ ยอดเสาหลักเมืองแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตูม
ส่วนฐานแกะสลักเป็นดอกบัวรองรับ ลงรักปิดทอง โดยกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร
เป็นผู้ออกแบบและแกะสลักเสาหลักเมือง
ป้ายศาลหลักเมืองนครสวรรค์ |
บริเวณประตูหน้าทางเข้าศาลหลักเมืองนครสวรรค์ |
ภายในศาลหลักเมืองเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองนครสวรรค์ |
ภายในศาลหลักเมืองนครสวรรค์ประดิษฐานองค์เทพารักษ์ ๓ องค์ อันได้แก่
องค์ซ้ายคือ “พระเสื้อเมือง”
องค์กลางคือ “พระกาฬไชยศรี”
องค์ขวาคือ “พระทรงเมือง”
|
พระเสื้อเมือง : เป็นเทพารักษ์คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พล แสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน
พระทรงเมือง : เป็นเทพรักษาการปกครอง และกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี
พระกาฬไชยศรี : เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก
ป้ายคำกล่าวบูชาสักการะองค์พระหลักเมืองนครสวรรค์ |
ความสวยงามของเพดานศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์ |
เทวดารักษาทวารและผนังภายในศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์ |
บริเวณจุดเทียน-ปักธูป-เติมน้ำมันตะเกียงหน้าศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์ |
กระถางมังกรปักเทียน-ปักธูปหน้าศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์ |
ผนังด้านหลังภายนอกศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์ เป็นป้ายหินอ่อนจารึกประวัติความเป็นมาของศาลหลักเมือง |
บริเวณโดยรอบนอกศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์
บริเวณด้านหลังศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์
เป็นที่ตั้งมณฑปและภายในประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันได้แก่
เป็นที่ตั้งมณฑปและภายในประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันได้แก่
หอพระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์เจ้า |
พระอาจารย์ โอภาษี |
ยกช้างเสี่ยงทายภายในมณฑปด้านหลังศาลหลักเมือง |
หอพระเจ้างามฟ้าพุทธาสถิตย์ ภายในมณฑปด้านหลังศาลหลักเมือง |
หอองค์มหาเทพ และเทพเทวาทั้งปวง ภายในมณฑปด้านหลังศาลหลักเมือง |
หอภูมิเทวาพิทักษ์อุดมเขตต์ (ท่านเจ้าที่) และหอเทพปูชนียสถาน ภายในมณฑป ด้านหลังศาลหลักเมือง |
ประวัติศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์
ตามประเพณีการสร้างบ้านสร้างเมืองแต่โบราณกาลสืบเนื่องกันมา เมื่อมีการสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้น ณ
ที่แห่งใด
ก็จำเป็นจะต้องมีหลักเมืองควบคู่กันไปด้วย
การสร้างหลักเมืองไม่เกี่ยวกับลัทธิศาสนาใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นสัญลักษณ์แสดงว่า เมื่อสร้างหลักเมืองเสร็จแล้ว บ้านเมืองจะได้สถิตสถาพรยืนนาน
ประชาชนพลเมืองจะได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง และเป็นหลักชัยที่จะนำความสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลมาสู่จังหวัด
เป็นนิมิตมงคลแห่งความร่วมมือสามัคคีกลมเกลียวกัน
เนื่องจากตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ปรากฏว่า จังหวัดนครสวรรค์มีหลักเมืองมาก่อน
เพื่อให้บ้านเมืองเป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาข้างต้น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ (นายวิทยา
เกษรเสาวภาค)
จึงได้ขออนุญาตสร้างหลักเมืองไปยังกระทรวงมหาดไทย และทางกระทรวงมหาดไทยก็ได้พิจารณาเห็นชอบด้วย ได้ตอบอนุญาตให้สร้างขึ้นได้ตามความประสงค์
ศาลหลักเมืองจังหวัดนครสวรรค์
จึงได้เริ่มการก่อสร้างในสมัยที่นายวิทยา เกษรเสาวภาค
เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ อาคารศาลหลักเมืองและเสาหลักเมืองแห่งนี้ออกแบบโดยกรมศิลปากร
สร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นเงินทั้งสิ้น ๔๕๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนห้าหมื่นบาทถ้วน) นายช่างผู้แทนกรมศิลปากร
และสำนักผังเมือง เป็นผู้พิจารณาเลือกสถานที่ เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม
พุทธศักราช ๒๕๑๖ โดยมี ฯพณฯ
ถวิล สุนทรศารทูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานวางศิลาฤกษ์
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖ ส่วนการตกแต่งบริเวณโดยรอบศาลหลักเมือง
ได้ใช้จ่ายเงินจากเงินงบประมาณของเทศบาลเมืองนครสวรรค์ในขณะนั้น เป็นจำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐
บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) และศาลหลักเมืองได้ทำการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๖
ในทุกๆ
ปี จะมีการจัดงานสมโภชศาลหลักเมืองนครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งได้ฉลองครบรอบ ๔๐
ปีศาลหลักเมืองนครสวรรค์ ไปเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา
ในงานพิธีอันเป็นมงคลนี้ที่มีชื่อว่า “พิธีวันอาจาริยะบูชา” ซึ่งจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมิถุนายน
ณ ศาลาเอนกประสงค์ศาลหลักเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น